หน้าหลัก สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อประชาชน ศูนย์ข้อมูลนิติบัญญัติ คณะกรรมาธิการ วิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ศูนย์ประชาคมอาเซียน สำนักงาน
หน้าแรก รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ๒๕๕๗ กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ อำนาจหน้าที่สปช. โครงสร้างสปช. การคัดเลือกสมาชิกสปช.
พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสปช. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสปช. การแต่งตั้งคณะกมธ.ยกร่างรธน. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกมธ.ยกร่างรธน. อำนาจหน้าที่คณะกมธ.ยกร่างรธน.
การพิจารณาร่างรธน. การสิ้นสุดสปช.และคณะกมธ.ยกร่างรธน. การแต่งตั้งคณะกมธ.สปช. เงินเดือนสมาชิกสปช.และกมธ.ยกร่างรธน. คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสปช.
 
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช และนายนิมิต สิทธิไตรย์ สมาชิกสปช. ร่วมกันแถลงประกาศจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 2 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2558

วันพุธที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช และนายนิมิต สิทธิไตรย์ สมาชิกสภาปฏฺิรูปแห่งชาติ ร่วมกันแถลงว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จะลงมติในเช้าวันที่ ๖ กันยายนนี้ แม้ว่าจะมีเนื้อหาที่ดีอยู่มากแต่ส่วนน้อยที่เป็นข้อบกพร่องนั้น หากผ่านมติจากสปช. นำไปลงประชามติและบังคับใช้อาจสร้างปัญหาสำคัญจนเกิดวิกฤตและผลกระทบต่อร่างรธน. ทั้งฉบับและต่อประเทศได้ เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ต่าง ๆ แล้ว พวกตนทั้งสองจะลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อหยุดร่างรธน. นี้ไว้ก่อนแล้วทบทวนให้รอบคอบ ปรับแก้ให้สมบูรณ์จนเป็นที่ยอมรับเกิดความสบายใจและมั่นใจของทุกฝ่าย จะเกิดประโยชน์มากกว่า โดยมีข้อสังเกตุ ๔ ประการที่จะลงมติให้เห็นชอบร่างรธน. คือ
๑. ร่างรธน. นี้ถูกหลายภาคส่วนไม่ยอมรับ เช่น นักการเมืองจาก พรรคใหญ่ ๒ พรรคใหญ่คือเพื่อไทยและประชาธิปัตย์,นปช., นักวิชาการ, สื่อมวลชน, ฯลฯ หากเปิดกว้างให้ประชาชนแสดงความเห็นได้มากกว่าที่เป็นอยู่ จะเห็นแนวคิดและเหตุผลและปฏิกิริยาต่าง ๆ ว่าทำไมถึงไม่สามารถยอมรับร่างรธน.นี้ได้
๒. เป็นร่างรธน. ที่ถูกตั้งสารพัดฉายาในทางลบ ทำให้ร่างรธน. ถูกลดคุณค่า ไม่สง่างาม ไม่สมศักดิ์ศรีของการเป็นกฎหมายสูงสุด ทั้งที่ๆ โดยหลักแล้ว ควรจะได้รับการยอมรับให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปและปรองดองและเป็นความหวังแห่งอนาคตของคนไทย
๓. การผ่านมติของสปช. ควรจะผ่านแบบเอกฉันท์หรือค่อนข้างเอกฉันท์ แต่เท่าที่ประเมินดูแล้ว คะแนนเสียงจะไม่ต่างกันมาก ทำให้เห็นเกิดคำถามว่า ถ้าร่างรธน. ดีจริง เหตุใดจึงมีสปช. ไม่เห็นชอบจำนวนมาก
๔. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหลักการและเนื้อหาสาระในร่างรธน. การไปลงมติประชามติ จะไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาร่างรธน. แต่จะรวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ เช่นความพอใจหรือไม่พอใจต่อคสช. รัฐบาล สปช. เกิดกว่าจะคาดการณ์ได้ว่าผลการลงมติที่ออกมาจะมีความชอบธรรมหรือเป็นมติที่สร้างปัญหาความแตกแยก เกิดความไม่ปรองดองรอบใหม่
download download Download all images download
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (เริ่มนับ ๘ ก.ย. ๕๗)
 
กลับไปที่เมนูด้านบน