๒๕๖๐
หน้าหลัก
ประกาศ/คำสั่ง คสช.
ถ่ายทอดสดการประชุม
สมัยประชุม (สามัญ/นิติบัญญัติ)
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ศูนย์ข้อมูลนิติบัญญัติ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข่าวสารบ้านเมือง
ข่าววิทยุรัฐสภา
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
รับสมัครงาน
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ของที่ระลึก
แผนผังเว็บไซต์
ติดต่อรัฐสภา
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

วีดิทัศน์เพื่อประชาชน



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

 

ข้อมูลข่าวสารการปฏิรูปประเทศและการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ
เสียงประชาชน
:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเพื่อประชาชน ::
 
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ประธาน และรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พร้อมด้วยทีมโฆษกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศพบปะสื่อมวลชน (Meet the Press) เพื่อพบปะพูดคุยถึงความคืบหน้าในการทำงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 25 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรองพิเศษ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่หนึ่ง และนางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่สอง พร้อมด้วยทีมโฆษกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ร่วมพบปะสื่อมวลชน (Meet the Press) เพื่อพบปะพูดคุยถึงความคืบหน้าในการทำงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ในประเด็นสปท. เดินหน้าตามโรดแมประยะที่สาม
 
ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ดังนี้         
 ๑. ด้านการพิจารณาแผนการปฏิรูปด้านต่างๆ ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ผ่านมาที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้พิจารณาระเบียบวาระของแผนการปฏิรูปเสร็จสิ้นไปแล้ว ได้แก่

         ๑) รายงานการปฏิรูปประเทศของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เรื่อง บทบาท หน้าที่ และการใช้ประโยชน์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และร่างพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับรายงานดังกล่าว โดยให้คณะกรรมาธิการนำความเห็น  และข้อเสนอแนะของสมาชิกฯ ไปปรับปรุงรายงานก่อนส่งรายงานไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

         ๒) รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เรื่อง การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับรายงานดังกล่าว โดยให้คณะกรรมาธิการนำความเห็น และข้อเสนอแนะของสมาชิกฯ ไปปรับปรุงรายงานก่อนส่งรายงานไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

         ๓) รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เรื่อง การจัดทำ การกำหนด และการขับเคลื่อนกฎหมายว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติ และร่างพระราชบัญญัติยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับรายงานดังกล่าว โดยให้คณะกรรมาธิการนำความเห็นและข้อเสนอแนะของสมาชิกฯ ไปปรับปรุงรายงานก่อนส่งรายงานไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

 
ส่วนประเด็นผลการดำเนินการตาม ตามมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ในส่วนของประเด็นข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่สอดคล้องกับประเด็นข้อเสนอการปฏิรูป และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นที่สอดคล้องกัน ซึ่งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศจะได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป มีจำนวน ๙ เรื่อง ได้แก่
         ๑) หลักประกันความมั่นคงรายได้เพื่อการยังชีพของผู้สูงอายุ : การเร่งรัดการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔

         ๒) แผนปฏิรูปสัมมาชีพชุมชน

         ๓) ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         ๔) การปฏิรูปการจัดการทรัพยากรทะเลทางชายฝั่ง

         ๕) การจัดการสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และร่างพระราชบัญญัติการแจ้งเตือนและการจัดการสินค้าที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค พ.ศ. ....

         ๖) ความรับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ....

         ๗) ร่างพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ....

         ๘) การสร้างสังคมผู้ประกอบการ และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

         ๙) การปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

             นอกจากนี้ ยังมีผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปประเทศของสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน ๔ เรื่อง คือ

          ๑) แนวทางการปฏิรูประบบประกันสุขภาพ

          ๒) การจัดการภัยพิบัติตามธรรมชาติภาวะโลกร้อน

          ๓) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนร่วม พ.ศ. ....

          ๔) การปฏิรูประบบกำจัดขยะเพื่อแก้ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน

              ส่วนเรื่องที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะได้หยิบขึ้นมาเป็นลำดับถัดไปคือการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายการแข่งขันทางการค้า
๒. ด้านการอภิปรายและให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้มีการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญไปเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้นำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ๓ ส่วน ยื่นให้กับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้วคือ ส่วนที่ ๑.ร่างข้อเสนอการเติมข้อความในร่างรัฐธรรมนูญ (ร่างเบื้องต้น) ตามมาตรา ๒๖๙ ของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนทั้ง ๑๒ คณะ  ๒. คำอภิปรายของสมาชิกในวันที่ ๘ – ๙  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และ ๓. ความเห็นของคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ ส่งไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
                             
 สำหรับประเด็นเรื่องปฏิรูปที่ควรบรรจุไว้ในมาตรา ๒๖๙ ของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... (ร่างเบื้องต้น) นั้น  คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้ร่วมกันพิจารณาและยกร่างมาตรา ๒๖๙ เป็นร่างเบื้องต้น ประกอบด้วยการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ๑๒ ด้าน ได้แก่

          ๑) ด้านการเมือง ให้มีการปฏิรูปพรรคการเมืองอย่างเป็นระบบ มีการเลือกตั้งที่สุจริต และเที่ยงธรรม มีการกำกับควบคุมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองเพื่อให้สังคมในระบอบประชาธิปไตยมีความยั่งยืน

          ๒) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน จัดโครงสร้างองค์กรของรัฐให้เหมาะสม มีการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล ประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การบริหารการเงินการคลังภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ เน้นการบูรณาการการบริหารราชการแผ่นดิน และระบบงบประมาณเชิงพื้นที่

          ๓) ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ตามมาตรา ๖๔ และมาตรา ๗๓

         ๔)ด้านการปกครองท้องถิ่น ให้มีโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ รายได้ การถ่ายโอนภารกิจ และรูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสม ได้มาตรฐานในการจัดบริการสาธารณะ มีการบริหารงานบุคคล ตามหลักคุณธรรม และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม

          ๕) ด้านการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ เชี่ยวชาญตามความถนัด  มีความรับผิดชอบ การศึกษาตลอดชีวิตโดยรัฐเป็นผู้ดำเนินการ กลไกความร่วมมือกันในการจัดการศึกษาทุกระดับ การมีธรรมาภิบาล และการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยเพื่อนวัตกรรม

          ๖) ด้านเศรษฐกิจ การเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ เศรษฐกิจกระแสใหม่ และการเงินการคลัง ให้พัฒนาเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างยั่งยืน

          ๗) ด้านพลังงาน ให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพทางพลังงาน ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน การผลิตและใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืน

          ๘) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ปฏิรูประบบและกลไกการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การวางผังเมือง การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ระบบบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การอภิบาลระบบทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ รวมถึงการเงินการคลังในระบบประกันสุขภาพ

          ๙) ด้านสื่อสารมวลชน ตามมาตรา ๓๔ , ๓๕ , ๓๖ , ๕๖ และ ๒๖๒

        ๑๐) ด้านสังคม ให้ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง รองรับสังคมสูงวัย ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส สวัสดิการสังคม จัดการแรงงานและคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสมกับสังคมไทย

        ๑๑) ด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรม และจริยธรรม จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ การบรรจุหลักสูตรด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม ไว้ในหลักสูตรการศึกษาของชาติทุกระดับ และการปฏิรูปการศึกษาสงฆ์ให้เป็นไปตามหลักพุทธธรรมและมาตรฐานการศึกษาของชาติ

        ๑๒) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สร้างจิตสำนึก และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจัง ประชาชนสามารถนำคดีขึ้นฟ้องศาลได้ ให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ปราศจากการแทรกแซง และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง

             ซึ่งที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศพิจารณา เพื่อให้ความเห็นชอบแล้ว  และจะได้เสนอต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาต่อไป

                   
จากนั้น นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่หนึ่ง ได้กล่าวถึงภาคีเครือข่ายการปฏิรูปประเทศของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งในขณะนี้มีจำนวน ๑๑ องค์กร ที่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ  ได้แก่

                          ๑. หอการค้าไทย

                          ๒. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ๗๗ แห่ง

                          ๓. มหาวิทยาลัยราชภัฎ ๓๘ แห่ง

                         ๔. สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยและสหกรณ์ ๗ ประเภท (๗,๓๐๐ สหกรณ์) + ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

                          ๕. สภาองค์กรชุมชน ๔,๙๐๐ ตำบล

                          ๖. สมาคมข้าราชการท้องถิ่นแห่งประเทศไทย

                          ๗. สภาพัฒนาการเมือง

                          ๘. สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย และสหภาพข้าราชการและพนักงานฝ่ายปกครองแห่งประเทศไทย

                          ๙. สหภาพข้าราชการฝ่ายปกครองและพนักงานฝ่ายปกครองแห่งประเทศไทย

                        ๑๐. สภาแรงงานแห่งชาติ และสหพันธ์/สมาพันธ์แรงงานแห่งชาติ

                        ๑๑. องค์กรสหพันธ์นิสิตนักศึกษาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย

          โดยภาคีเครือข่ายเหล่านี้จะช่วยขับเคลื่อนและสื่อสารแผนงานต่างๆ ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ การปฏิรูปประเทศจะต้องปฏิรูปตั้งแต่ฐานรากของสังคม ภาคีเครือข่ายต่างๆ ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะช่วยสื่อสารเพื่อสร้างคลื่นแห่งการปฏิรูปประเทศ (wave of reform) ให้แผ่ขยายและเข้าถึงทุกพื้นที่ทุกกลุ่ม และทุกภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจถึงความจำเป็นของการปฏิรูปประเทศ และร่วมมือกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และตระหนักว่าการปฏิรูปประเทศเป็นเรื่องของทุกคน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไปด้วยกัน เพื่ออนาคตที่ดีกว่าของประเทศไทย โดยตั้งเป้าภายใน ๓ เดือน จะเดินหาภาคีเครือข่ายของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศให้ได้ ๓๐ เครือข่าย
            ด้านการประสานงานของวิป ๓  ฝ่าย คือ คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ( สปท. ) เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปตามโรดแมป ได้ข้อสรุป ดังนี้

                          ๑. เพื่อให้การขับเคลื่อนการทำงานของแม่น้ำ ๕ สาย นายกรัฐมนตรีจึงได้มีการตั้งคณะทำงานทั้ง ๖ คณะไปแล้ว และกำหนดให้คณะกรรมาธิการของทั้ง ๒ สภาเข้าไปทำงาน และประสานงานกับ ๖ คณะดังกล่าว เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน  

                          ๒. การวางแนวทางปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า จึงให้คณะกรรมาธิการ ทั้ง ๒ สภา ที่ต้องทำภารกิจตรงกัน ได้มีการประชุมหารืออย่างใกล้ชิด และร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อหารูปแบบการทำงานอย่างมีเอกภาพ

                          ๓. จัดการระบบสารสนเทศให้เป็นระเบียบเพื่อให้คณะกรรมาธิการ ทั้ง ๒ สภาได้ทราบถึงโครงสร้างการทำงานคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากนี้ไปจะมีการประชุมประสานงานกันมากขึ้น เพื่อให้การทำงานของทั้ง ๓ ฝ่ายเป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ที่ประชุมวิป ๓ ฝ่าย ได้พิจารณาเห็นชอบการขับเคลื่อนและปฏิรูปประเทศ ๙ เรื่อง เพื่อส่งให้รัฐบาลขับเคลื่อนและปฏิรูปประเทศได้ทันทีตามโรดแมประยะที่ ๒ พร้อมกันนี้ ยังมีมติให้ขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายการแข่งขันทางการค้า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ขจัดการผูกขาดทางธุรกิจการค้า คุ้มครองผู้บริโภค และสร้างระบบธุรกิจการค้าที่เสรีและเป็นธรรมอย่างแท้จริง

                    ขณะนี้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้เข้าสู่โรดแมปการทำงานในระยะที่ ๓ เข้าสู่ในช่วงของส่งข้อเสนอการปฏิรูปไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด ในส่วนของกลไกการประสานงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการประสานงานรวม ๓ ฝ่ายคณะกรรมการประสานงานการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ล้วนมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความชัดเจนมากที่สุด เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน  ทุกคน ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องก้าวข้ามความขัดแย้ง และร่วมมือกันเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย เพื่อทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว

 
นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่สอง ได้กล่าวว่าสิ่งสำคัญคือการติดตามผลการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่จะออกไปสู่สาธารณชน ซึ่งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มีกระบวนการในการติดตามผลดังกล่าว โดยการประสานงานร่วมกับวิป ๓ ฝ่าย เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปตามโรดแมปที่กำหนดไว้

 

 

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เงินอุดหนุนการวิจัย รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
ชมรมรัฐสภาอาสา
   
 
(เริ่มนับ 17 ต.ค. 54)
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2244 2500
อีเมล์ : webmaster@parliament.go.th   เว็บไซต์ : http://www.parliament.go.th