|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวสรุปการสัมมนาโครงการรัฐสภาสามารถ สู่ SMART Parliament ณ โรงแรมเดอะ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 26 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ โรงแรมเดอะ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นวันที่สองของโครงการรัฐสภาสามารถ สู่ SMART Parliament นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวสรุปการสัมมนาและให้ข้อคิดว่าการทำกิจกรรมบัดดี้ เป็นบรรยากาศที่ดีการสร้างมือเกาะเกี่ยวและคล้องกันเพื่อทำงานร่วมกันเช่นนี้ คือการทำงานแบบบูรณาการไม่ใช่การทำงานแบบไซโล (Silo)เป็นลักษณะงานแบบบูรณาการ ความเป็นเพื่อนเป็นมิตรต้องประสานความสัมพันธ์ และความร่วมมือของบุคลากร ต้องเพาะเมล็ดพันธุ์ความร่วมมือและการทำงานแบบบูรณาการเพื่อสร้างดีเอ็นเอเหล่านี้ให้เกิดความเจริญงอกงามแก่ชาวสภา เพื่อทำให้สำนักงานฯ เจริญตาม เรื่องของความท้าทายก็เช่นกัน เป็นเรื่องที่ต้องสร้างดีเอ็นเอให้กับคนสภาทุกคนด้วยการใช้รัฐสภาสามารถสรุปรวบยอดทำสัมฤทธิ์ผลขอฝากสำนักงานฯ ไว้กับมือของพวกเราทุกคน ในส่วนกิจกรรมที่สะท้อนผลสำรวจความพึงพอใจ ขอให้ผู้บริหารรับเอาไปดำเนินการต่อ เช่น เรื่องห้องทำงานสามารถจัดสถานที่อย่างไรได้บ้าง เพื่อลดแออัด มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงเรื่องความยุติธรรมในสิ่งที่ต้องดูแลสิ่งที่เรียกร้องทั้งที่มองเห็นหรือมองไม่เห็น ในความเป็นจริงสำนักงานฯ ดำเนินการแล้ว แต่อาจยังไม่เข้าใจ ลองเปิดใจ พูดคุยกันเพื่อให้องค์กรของเราพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ประเด็นความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้นคือจะมีการยุบสภา และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการรองรับ ทั้งงานต้อนรับ งานที่ต้องเตรียมต่าง ๆ คณะกรรมการจะเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ต้องร่วมแรงร่วมใจกัน บางเรื่องอาจไม่ต้องผ่านคณะกรรมการฯ แต่เราต้องเตรียมข้อมูลเพื่อต้อนรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ผ่านทางเนื้อหา (Content) ที่พวกเรามีหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ เลขาธิการฯ ได้บอกผ่านทางรองเลขาธิการฯ ผู้อำนวยการสำนัก ซึ่งจะนำรายละเอียดไปบอกกับ ผบ. เราต้องเตรียมเนื้อหา เตรียมชุดความรู้ในการคาดการณ์ การมองไปในอนาคตต้องทำอย่างไร การเตรียมนวัตกรรม การทำอย่างไร โดยในเดือนมีนาคม จะติดป้ายนวัตกรรมที่ข้างอาคารสภา สมาร์ทโซนต่าง ๆ เตรียมการที่สมาชิกใหม่มา ท่านจะเห็นความสมาร์ท การบริหารจัดการอาคาร การเตรียมอาคารสถานที่ให้พร้อมต้อนรับสมาชิกทุกองคาพยพต้องเห็นภาพชัดด้วยความสมาร์ททุกอย่าง คำว่าสมาร์ท ต้องมี Content ขอฝากให้ทุกคนช่วยเอาโจทย์นี้ไปคิดต่อ และในตอนท้ายเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่า น้อง ๆ คืออนาคตของสำนักงานฯ ขอฝากสำนักงานฯ ไว้กับทุกคน ตนเชื่อมั่นเต็มร้อย ว่าทุกคนจะขับเคลื่อนสำนักงานฯ ไปยังเป้าหมายได้ อีกประการหนึ่ง คือเรื่องรัฐพิธี ซึ่งทุกภาคส่วนต้องบูรณการการทำงานร่วมกัน สำนักงานฯ จะเชิญแขก 900 คนขึ้นไปบริเวณชั้น 11 จึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดีอย่างยิ่ง โดยสำนักรักษาความปลอดภัยและสำนักประชาสัมพันธ์ ซึ่งการทำงานของทั้งสองสำนักอาจได้เพียงพอและสามารถรองรับงานรัฐพิธีที่มีจำนวนร่วมงานจำนวนมากได้ ดังนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือ การสนับสนุนและการช่วยเหลือจากทุกสำนักด้วย
นอกจากนี้ จะมีแผนการจัดทำพิพิธภัณฑ์รัฐสภา เป็นแผนแม่บทอนาคตต้องมีการจัดทำคำของบประมาณ อีกประเด็นหนึ่งแผนในอนาคตสถานีรถฟ้าเกียกกาย ได้มีการพูดคุยให้เชื่อมโยงกับอาคารรัฐสภา เป็นเรื่องของบริบท เป็นเรื่อง Destination ที่จุดหมายปลายทางเพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนที่มาเยี่ยมชมรัฐสภา จึงขอฝากเรื่องการทำวีดิทัศน์ การนำชมทั้งออนไซต์ และ Visual ต้องมีความทันสมัย
โครงการดังกล่าวจัดโดย สำนักพัฒนาบุคลากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนัก การรับรู้ และสร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรของสำนักงานฯ เกี่ยวกับสาระสำคัญของ SMART Parliament ในทิศทางเดียวกันให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและยึดหลักการทำงานเป็นทีมเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเป็น SMART Parliament ตลอดจนเพื่อให้บุคลากรสร้างความสัมพันธ์อันดี เกิดแรงจูงใจ และร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|