|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมการประชุมภาครัฐสภาในห้วงการประชุมธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต ประจำปี 2565 เป็นวันที่สอง
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 2 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 - 15.50 นาฬิกา นายสยาม หัตถสงเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะรองประธานคณะ กมธ.การสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เข้าร่วมการประชุมภาครัฐสภา (Parliamentary Track) ในโอกาสการประชุมธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต ประจำปี 2565 (2022 Internet Governance Forum: IGF) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ การติดตามผลการดำเนินการว่าด้วยความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ผ่านกลไกและกระบวนการต่าง ๆ ของสหประชาชาติ ดำเนินการประชุมโดยนาย Vladimir Radunovic ผู้เชี่ยวชาญด้านการทูตและความมั่นคงทางไซเบอร์ จากองค์กร DiploFoundation ที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาได้รับฟังความคืบหน้า ผลสำเร็จ และความท้าทายต่าง ๆ ของการดำเนินการด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ภายใต้กรอบสหประชาชาติ ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิก ผ่านการดำเนินการภายในประเทศ เช่น การตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การสนับสนุนด้านงบประมาณและทรัพยากรมนุษย์ ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือระหว่างประเทศในมิติต่าง ๆ เช่น การนำเสนอข้อมูลผ่านรายงานประจำตามกรอบเวลา และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ การสร้างความสอดคล้องทางกฎหมาย การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ตลอดจนกระบวนการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กำลังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติกำลังเผชิญกับความท้าทายของระบบการรายงานกลับและความพยายามในการเชื่อมโยงข้อมูลและการติดตามผลการดำเนินการภายในประเทศ เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ ทั้งในระบบราชการที่มีความซับซ้อน มีผู้รับผิดชอบและครอบครองข้อมูลต่าง ๆ หลายหน่วยงานที่ซ้ำซ้อนกัน รวมทั้ง ข้อจำกัดด้านทรัพยากรและบุคลากรที่ทำให้กระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อถูกส่งผ่านมายังหน่วยงานผู้ปฏิบัติแล้วไม่ได้รับการตอบสนองและสะท้อนกลับไปยังสหประชาชาติ
นอกจากนั้น ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากการแทรกแซงของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งการนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จและบิดเบือนข้อมูล และการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ยังคงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สมาชิกรัฐสภาจากหลายประเทศได้นำเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งหลายฝ่ายได้เห็นพ้องในการยกระดับและเสริมสร้างศักยภาพของสมาชิกรัฐสภาต่อความเข้าใจพื้นฐานของสภาพปัญหาและความท้าทายของภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมทั้ง รูปแบบการจัดการปัญหาภายใต้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งภาครัฐสภามีบทบาทสำคัญในการติดตามกำกับตรวจสอบนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของฝ่ายบริหารที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสเพื่อเป็นหลักประกันในการสร้างกระบวนการที่น่าเชื่อถือและปกป้องมิให้เกิดการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
เครดิตภาพและข่าวโดย : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|