|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
ประชุมคณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมคณะกรรมาธิการด้านการเมืองฯ ครั้งที่ 1/2565
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 11 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
"สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 6 ของสหประชาชาติ"
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00 - 12.30 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ได้รับเชิญโดยสหภาพรัฐสภาในฐานะ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (Bureau of the IPU Standing Committee on Sustainable Deveolpment) เข้าร่วมการประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 6 (Sixth South-East Asia Multi-Stakeholder Forum) ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN ESCAP) ระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2565 ภายใต้หัวข้อหลัก Accelerating the Recovery from COVID-19 while Advancing the full Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development ในรูปแบบผสมผสาน (hybrid meeting)
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่อาวุโสของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกรัฐสภา ได้ร่วมกันหารือแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความเข้าใจและอภิปรายเชิงลึกถึงการเร่งรัดการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกันเพื่อเร่งรัดการบรรลุเป้าหมาย SDGs ให้ทันภายในปี 2030 โดยในวันที่สองของการประชุม ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศเข้าร่วมการอภิปรายแลกเปลี่ยนแบบเป็นคณะ (panel discussion) ในฐานะผู้นำการอภิปราย (panelists)ในช่วงที่ 5 (Session 5) ในหัวข้อ "SDG 17 - South-East Asia perspectives and partnership for delivering on the SDGs through the food, energy, and finance nexus" ประกอบด้วย 1) ดร. Marie Lisa Dacanay ผู้แทนจาก Institute for Social Entrepreneurship in Asia 2) นาย Octavio B. Peralta ผู้อำนวยการ Association of Development Financing Institutions in Asia and the Pacific สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 3) นางสาว Tran Thi Tuyet ผู้ประสานงานหลัก องค์กร Water and Energy for Food Grand Challenge (WE4F) ประจำสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ 4) นายสุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ทั้งนี้ ผลการประชุมจะได้นำเข้าสู่การประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (Asia-Pacific Forum on Sustainable Development :APFSD) และการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development : HLPF) ของสหประชาชาติ ในปี 2566 ต่อไป ในการนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ได้รับเชิญให้ทำหน้าที่ผู้ร่วมอภิปรายนำ (panelist) ในฐานะตัวแทนของภาครัฐสภา และสหภาพรัฐสภา โดยได้นำเสนอถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยซึ่งต้องเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งรายเล็กรายย่อย ภาคประชาสังคม และประชาชนในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว (BCG Model) มาปรับใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและภูมิภาคของไทยให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบันและอนาคต ควบคู่ไปกับการนำความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปต่อยอดให้เกิดคุณค่าสู่สังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยปัจจุบันภาครัฐสภาของไทยได้ติดตามและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อรองรับบริบทของโลกที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคหลังโควิด-19 อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับบทบาทของรัฐสภาในการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนนโยบายและมาตรการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลากหลายโครงการทั้งของภาครัฐ และภาคส่วนอื่นๆ
เครดิตภาพโดย UNESCAP เครดิตข่าวโดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|