เมนูหลัก
วีดิทัศน์สำนักงานฯ
ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔
๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา
เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที
วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า
สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ
วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00 นาฬิกา ณ ห้องรับรองพิเศษ 207 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนางคยองซอน คิม ผู้แทนองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เรื่อง การเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและงบประมาณด้านสังคม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเด็กและสตรี เป็นการลงนาม MOU ต่อเนื่องจากฉบับเดิมที่สิ้นสุดระยะเวลา
โอกาสนี้ นางพรพิศ เพชรเจริญ กล่าวว่า ตนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "การเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและงบประมาณด้านสังคม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเด็กและสตรี" ระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักงบประมาณของรัฐสภา กับ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ในวันนี้ทั้งนี้การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาความร่วมมือเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 นั้น อยู่ในช่วงของสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้ต้องปรับการดำเนินการร่วมมือให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม มีผลการดำเนินการร่วมกันที่สำคัญ อาทิ 1. ผู้แทนสำนักงบประมาณของรัฐสภาได้ร่วมลงพื้นที่ศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และเข้าร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาวิชาการ เรื่อง " การเพิ่มการลงทุนในเด็กปฐมวัยด้วยกลไกของท้องถิ่น "2. ผู้แทนสำนักงบประมาณของรัฐสภา เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือนโยบายสังคมระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์การยูนิเชฟ (Joint Country Programme (ปี 2022 - 2026) ในหัวข้อ "การคลังสาธารณะสำหรับเด็กและการลงทุนสำหรับเด็กสำหรับหน่วยงานในระดับท้องถิ่น" และหัวข้อ "การติดตามประเมินผลโครงการนโยบายทางสังคม" ซึ่งถือเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลด้านเด็กและสตรีระหว่าง PBO และ UNICEFนอกจากนี้ทาง UNICEF ได้อบรมสัมมนาเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่นักวิเคราะห์งบประมาณ 4 เรื่อง ได้แก่ 1. นโยบายการคลังเพื่อเด็ก 2. การใช้ข้อมูลเพื่อออกแบบนโยบาย 3. การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ 4. การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงนโยบายซึ่งเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะ ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยผู้เชี่ยวชาญ ให้แก่สำนักงบประมาณของรัฐสภา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานของสำนักงบประมาณของรัฐสภา ทั้งในส่วนของงานด้านวิชาการ รวมถึงการสนับสนุนฝ่ายนิติบัญญัติในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต้องขอขอบคุณ UNICEF เป็นอย่างยิ่งสำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับใหม่ในวันนี้ ทั้งสองหน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกัน ในการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและการติดตามประเมินผล รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เด็กและสตรี เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและสร้างเครื่องมือการทำงานให้กับสำนักงบประมาณของรัฐสภา เพื่อสนับสนุนบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยความร่วมมือดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของทั้ง 2 หน่วยงาน โดยเน้นความร่วมมือเชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในด้านการบริหารจัดการด้านการคลังสาธารณะสำหรับเด็ก การติดตามประเมินผล ให้แก่สำนักงบประมาณของรัฐสภา ให้มีความชำนาญและความรู้ในการสนับสนุนสมาชิกรัฐสภาต่อบทบาทการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สามารถทำได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม เช่น การอบรมสัมมนา การศึกษาดูงานในพื้นที่ เป็นต้นความร่วมมือในครั้งนี้ยังเป็นการสนับสนุนภารกิจขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กทั่วโลกในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เด็กและสตรี เพื่อการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กรวมทั้งมีช่องทางในการรณรงค์ให้ปัญหาของเด็กที่เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง และให้เกิดการแก้ไขปัญหาและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กและสตรีที่ด้อยโอกาสหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ จะส่งเสริมสนับสนุนการทำงาน ตอบสนองเป้าหมายตามภารกิจอำนาจหน้าที่ของทั้ง 2 ฝ่าย และยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะเด็กและสตรี ให้ได้รับการดูแลตามสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับอีกด้วย