|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการอภิปรายเนื่องในวันประชาธิปไตยสากล (International Day of Democracy) ประจำปี 2565 ในรูปแบบออนไลน์
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 19 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 20.30 - 22.00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการอภิปรายเนื่องในวันประชาธิปไตยสากล ประจำปี 2565 ในรูปแบบออนไลน์ (ผ่านโปรแกรม Zoom) ภายใต้หัวข้อ ปฏิญญาสากลสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยใน 25 ปีที่ผ่านมาได้ยืนหยัดเหนือกาลเวลาหรือไม่? (The IPU Universal Declaration on Democracy: 25 years on, has the declaration stood the test of time?) ในโอกาสพิเศษที่ในปี 2565 เป็นวาระครบรอบ 25 ปีของปฏิญญาสากลว่าด้วยประชาธิปไตย ซึ่งจัดขึ้นโดยสหภาพรัฐสภาทั้งในรูปแบบปกติ (in-person) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และรูปแบบออนไลน์ด้วย ทั้งนี้ ผู้อภิปรายหลัก (Panelist) ในกิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วย Mr. Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา Mr. Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา Dr. Hanafy Ali Gebaly ประธานสภาผู้แทนราษฎรอียิปต์ Ms. Hend Abdalrahman Al-Muftah ผู้แทนถาวรรัฐกาตาร์ประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา และ Ms. Corinne Momal-Vanian ผู้อำนวยการใหญ่มูลนิธิโคฟี อันนัน และมีสมาชิกรัฐสภาจากประเทศสมาชิกสหภาพรัฐสภาทั่วโลกเข้าร่วมการอภิปราย
ในช่วงเปิดการอภิปราย ประธานสหภาพรัฐสภาได้แสดงความยินดีที่ปฏิญญาสากลสภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยได้มีอายุครบรอบ 25 ปีแล้ว และกล่าวว่าประชาธิปไตยเปรียบเสมือนดอกไม้ที่ต้องหมั่นดูแลอยู่เสมอเพื่อให้ผลิดอกงดงามต่อไปได้ท่ามกลางความท้ายทายจากวิฤตการณ์ต่าง ๆ จากนั้น Ms. Gunilla von Hall ผู้ดำเนินรายการได้นำเข้าสู่การอภิปรายโดยสรุปประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ (1) ความสำคัญของประชาธิปไตยในฐานะกลไกการขับเคลื่อนสันติภาพ ความมั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ตลอดจนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการตอบสนองต่อความท้าทายของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) ความท้าทายที่มีต่อระบอบประชาธิปไตยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้หลายประเทศต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปและบังคับใช้มาตรการฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจจำกัดลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางเมืองและสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน (3) ความแตกต่างหลากหลายของประชาธิปไตย อาทิ ระบบการเลือกตั้งและวัฒนธรรมการเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเป็นกรณีศึกษาซึ่งกันและกัน (4) การเสริมสร้างและฟื้นฟูประชาธิปไตยในยุคหลังโควิด-19 ที่คำนึงถึงประชาชนทุกกลุ่ม (Inclusive Democracy) โดยเฉพาะสตรีและเยาวชน ซึ่งปัจจุบันมีสัญญาณที่ดีจากจำนวนสมาชิกรัฐสภาสตรีและยุวสมาชิกรัฐสภา (Young Parliamentarian) (สมาชิกรัฐสภาอายุน้อยกว่า 45 ปี) ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ 5) การส่งเสริมหลักการประชาธิปไตยในการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศและองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ ในระหว่างการอภิปราย U Aung Kyi Nyunt ประธานคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ (Committee Representing the Pyidaungsu Hluttaw: CRPH) หรือรัฐสภาพลัดถิ่นของเมียนมาที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ในฐานะแขกรับเชิญพิเศษ ได้กล่าวเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศพยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาเมียนมาที่ได้รับเลือกตั้งโดยชอบธรรม อีกทั้งสนับสนุนให้เมียนมาได้กลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยได้โดยเร็ว เนื่องจากภายหลังการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา มีนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยและประชาชนชาวเมียนมาที่ต่อต้านรัฐบาลทหารถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมและถูกสังหารเป็นจำนวนมาก และสถานการณ์ ณ ขณะนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น
เครดิตภาพและข่าว : โดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|