กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ เรื่อง การเสริมศักยภาพด้านการเป็นผู้ดำเนินรายการ การรวบรวมประเด็นวิชาการ และการประชาสัมพันธ์ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพยุวชนประชาธิปไตยเพื่อการสร้างสรรค์สื่อออนไลน์ ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 6 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 นาฬิกา ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพยุวชนประชาธิปไตยเพื่อการสร้างสรรค์สื่อออนไลน์ ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจัดขึ้นร่วมกับมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ เป็นการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ เรื่อง “การเสริมศักยภาพด้านการเป็นผู้ดำเนินรายการ การรวบรวมประเด็นวิชาการ และการประชาสัมพันธ์” โดย นายทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์ นักวิเคราะห์ข้อมูลอาวุโส 2 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล นายอานนท์ บัวภา อาจารย์ประจำหลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  นายธีร์วัฒน์  ชูรัตน์ พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ/ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และดำเนินรายการโดย นายชนาวุธ  ชำนาญหาญ  โดยสรุปประเด็นสาระสำคัญของการเสวนา ได้ดังนี้

การนำเสนอเนื้อหาต้องคำนึงถึงประเด็นที่สำคัญต่างๆ  โดยไม่ควรทำให้คนฟังรู้สึกว่า หากมีความเห็นที่ไม่ตรงกับผู้ดำเนินรายการคือความล้าหลัง หรือเป็นคนไม่ดี เนื้อหาที่นำเสนอต้องเป็นประโยชน์ การใช้ถ้อยคำภาษาควรแสดงถึงความเคารพความคิดเห็นของคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเท่าเทียม เลี่ยงการใช้คำพูดที่ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ ประชาธิปไตยที่แข็งแรง คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถถกแถลงกันได้ภายใต้หลักของความเคารพกัน การผลิตเนื้อหาเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายต้องวิเคราะห์ถึงช่องทางในการสื่อสารให้ตรงกับเป้าหมายแบ่งออกเป็น สื่อเก่า ได้แก่ โทรทัศน์  วิทยุ หนังสือพิมพ์ ซึ่งถือว่ายังทรงมีอิทธิพลต่อการเปิดรับข่าวสารกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุในสังคมไทย และสื่อใหม่ในยุคดิจิทัล ได้แก่ facebook  Instagram  tiktok  twitter และ YouaTube  ทั้งนี้ต้องวิเคราะห์ถึงแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลต่อการเปิดรับข่าวสารของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม 

นอกจากนี้ ผู้ดำเนินรายการต้องแสดงถึงความเชื่อมโยงกับสิ่งที่เป็นขอบเขตของเรื่องต่างๆ  โดยให้ความสำคัญต่อกรอบในการตั้งคำถาม ซึ่งจะต้องมีข้อมูลเชิงวิชาการและการมีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะทำให้ได้คำตอบที่ชัดเจนตรงประเด็นว่ากำลังสื่อสารกับเป้าหมายกลุ่มใด เนื้อหานั้นมีประโยชน์กับผู้ใดในแต่ละประเด็น ซึ่งเนื้อหาในแต่ละประเด็นจะส่งผลกระทบที่ต่างกันของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย  การสร้างอรรถรสระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง หัวข้อและวิทยากรควรจะต้องไปด้วยกัน เพื่อให้ผู้ฟังมีความคล้อยตามในประเด็นนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th