|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 288
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
เมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 20.30 - 00.00 นาฬิกา (ตามเวลาในประเทศไทย) นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 288 (The 288th Session of the IPU Executive Committee) ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) โดยมี กรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาและผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากกรรมการบริหารฯ เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งสิ้น 11 คน แบ่งเป็นกรรมการบริหารฯ ที่เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 4 คน จาก ไทย จีน กรีซ และแอลจีเรีย และกรรมการบริหารฯ ที่เข้าร่วมการประชุม ณ รัฐสภาอุรุกวัย (Palacio Legislativo) กรุงมอนเตวิเดโอ สาธารณรัฐบูรพาอุรุกวัย 7 คน จาก อุรุกวัย สเปน ซิมบับเว ยูกันดา สวีเดน อุซเบกิสถาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พร้อมด้วย Ms. Lesia Vasylenko ประธานคณะ กมธ.สหภาพรัฐสภาสตรี และ Ms. Sahar Albazar ประธานคณะกรรมการบริหารการประชุมยุวสมาชิกรัฐสภา ในการนี้ นาย Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่ง Mr. Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา เข้าร่วมการประชุม
โดยที่ประชุมฯ ได้พิจารณาหารือเรื่องต่าง ๆ ตามระเบียบวาระการประชุม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การนำเสนอรายงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจของสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสถานการณ์ยูเครน (The IPU Task Force on Ukraine) ประกอบด้วยผู้แทนจากกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์ในสหภาพรัฐสภาทั้ง 6 กลุ่ม ซึ่งที่ประชุมฯ ได้อภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ร่างขอบเขตงาน (TOR) ของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ซึ่งกรรมการบริหารฯ บางส่วนแสดงความคิดเห็นว่า ร่างดังกล่าวยังคงไม่ชัดเจน รวมถึงแนวทางการทำงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ควรให้ความสำคัญกับการสานเสวนากับทุกฝ่าย อาทิ พรรคฝ่ายค้าน พรรครัฐบาล และแนวคิดในการจัดตั้งกลไกเพื่อหารือเกี่ยวกับการบริหารจัดการปัญหาผู้หนีภัยสงคราม โดยที่ประชุมฯ ได้รับการชี้แจงว่า คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ จะมีหน้าที่เพื่อเปิดพื้นที่ในการสานเสวนาให้ทั้งสองฝ่าย แต่มิได้เป็นกลไกเพื่อการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (Humanitarian Assistance) อนึ่ง คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ นำโดย Dr. Ali Rashid Al Nuaimi สมาชิกรัฐสภาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีกำหนดที่จะเดินทางไปเยือนทั้งรัสเซียและยูเครนเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการเจรจาสันติภาพระหว่างประเทศทั้งสอง ในช่วงกลางเดือน ก.ค. นี้
จากนั้น ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาร่างแรกของเอกสารแผนการดำเนินงานว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสหภาพรัฐสภากับสหประชาชาติ (The IPU Political Project at the United Nations) จัดทำโดยสำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภา เพื่อทบทวนและพิจารณาทิศทางการดำเนินงานของสหภาพรัฐสภาในบริบทของสหประชาชาติ ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ภาครัฐสภาในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งพบว่ามีประเด็นเกี่ยวกับกลไกปัจจุบันของสหภาพรัฐสภาที่เชื่อมโยงกับระบบสหประชาชาติ อาทิ การประชุมรับฟังความคิดเห็นภาครัฐสภา ประจำปี (Annual Parliamentary Hearing at the UN) ซึ่งมีข้อเสนอให้ทบทวนปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมย่อย 2 รายการที่เน้นไปที่ประเด็นเชิงลึกเฉพาะทางเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และสิทธิมนุษยชน กับกรณีของคณะ กมธ.สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการสหประชาชาติ (The IPU Standing Committee on United Nations Affairs) ซึ่งมักจัดการประชุมคณะ กมธ.สามัญฯ โดยมุ่งเน้นไปที่การอภิปรายในประเด็นที่เป็นเรื่องเฉพาะภายในองค์กรของสหประชาชาติ ที่ประชุมฯ ได้แสดงความเห็นต่างจากข้อเสนอแนะในร่างเอกสารฯ ที่เสนอให้พิจารณาจัดตั้งคณะที่ปรึกษาขึ้นมาทดแทนคณะ กมธ.สามัญฯ โดยเห็นว่ากลไกการประชุมทั้ง 2 รายการยังคงเป็นเวทีสำคัญที่อำนวยประโยชน์ให้สมาชิกรัฐสภาได้สานเสวนาในเรื่องที่เกี่ยวกับสหประชาชาติเพียงไม่กี่เวที ในการนี้ นางพิกุลแก้วฯ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่สมาชิกรัฐสภาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมบรรยายสรุปแบบออนไลน์ (Online Briefings) ว่าด้วยสหประชาชาติ และข้อเสนอให้มีการจัดเสวนาประจำปีระหว่างสมาชิกรัฐสภากับหน่วยงานสหประชาชาติประจำประเทศ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาเข้าถึงข้อมูลล่าสุดในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่ในวาระของสหประชาชาติ นอกจากนี้ จากข้อมูลของสำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภา พบว่า ผู้เข้าร่วมการประชุมคณะ กมธ.สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการสหประชาชาติในระหว่างการประชุมสมัชชามีจำนวนน้อย อย่างไรก็ดี การพิจารณาปรับโครงสร้างองค์กรดังกล่าวซึ่งเป็นองค์กรตามธรรมนูญของสหภาพรัฐสภา ถือเป็นเรื่องใหญ่ซึ่งต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ โดยอาจต้องมีการสำรวจความเห็นของประเทศสมาชิกในวงกว้างเพื่อแสวงหาฉันทามติ และควรต้องได้รับการรับรองจากหน่วยบริหารของสหภาพรัฐสภา รวมถึงได้รับการเห็นพ้องจากรัฐสภาประเทศสมาชิกทั้งหมด เนื่องด้วยประเด็นดังกล่าวมีนัยเกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขธรรมนูญของสหภาพรัฐสภาด้วย
ในช่วงท้าย ที่ประชุมฯ ได้รับฟังความคืบหน้าเกี่ยวกับการพิจารณาประกาศผลการมอบรางวัลเครเมอร์-พาซี (Cremer-Passy Prize : MP of the Year Award) ซึ่งมีกำหนดจะประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล ในวันพฤหัสบดีที่ 30 มิ.ย. 65 ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 133 ปี ของการก่อตั้งสหภาพรัฐสภา และวันรัฐสภาสากล (International Day of Parliamentarism) ตลอดจนความคืบหน้าเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารของสหภาพรัฐสภา ค.ศ. 2022 2026 ซึ่งในเรื่องนี้ นางพิกุลแก้วฯ ได้แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมฯ ผ่านการนำส่งข้อคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีใจความกล่าวถึงข้อเสนอที่จะให้มีการริเริ่มจัดทำฐานข้อมูลสำหรับติดต่อสมาชิกรัฐสภาทั่วโลกแบบใหม่ เรียกว่า Zoho สำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภาควรดำเนินการโดยคำนึงถึงกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับภายในประเทศสมาชิก รวมถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลในด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสำคัญ
เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|