กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 287 ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 19 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 เวลา 09.00-12.30 นาฬิกา และเวลา 14.30-17.30 นาฬิกา (ตามเวลาประเทศไทย) นางพิกุลแก้ว  ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภาในฐานะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา ได้เข้าร่วมการประชุมแบบผสมผสาน (hybrid meeting) ของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 287 (The 287th session of the Executive Committee) ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 ณ นูซาดัว (จังหวัดบาหลี) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาและผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากกรรมการบริหารฯ เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 15 คน ประกอบด้วย กรรมการบริหารฯ หรือผู้แทนฯ จาก จีน  สวีเดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สเปน อัลจีเรีย ซิมบับเว เซเนกัล ยูกันดา ชิลี อุรุกวัยประธานคณะกรรมการบริหารการประชุมยุวสมาชิกรัฐสภา กรรมการบริหารฯ ที่เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากเซอร์เบีย กรีซ ไทย อุซเบกิสถาน โดยมีนาย Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม พร้อมด้วยเลขาธิการสหภาพรัฐสภาเข้าร่วมการประชุมด้วย 
 
ก่อนที่จะเข้าสู่วาระการประชุม H.E. Ms. Puan Maharani ประธานสภาผู้แทนราษฎรสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้กล่าวต้อนรับคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา โดยกล่าวว่าอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหภาพรัฐสภา จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาเป็นโอกาสในการหารือในประเด็นต่าง ๆ เพื่อทางออก โดยหัวข้อหลักในการอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบกับชุมชนระหว่างประเทศ ซึ่งสมาชิกรัฐสภามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาและต้องทำให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นผลจากการแพร่ระบาดใหญ่ที่เกิดขึ้น จึงหวังว่าคณะกรรมการบริหารฯ จะมีการประชุมและประสบผลสำเร็จ ณ จังหวัดบาหลี 

จากนั้น ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาหารือเรื่องต่างๆ ตามระเบียบวาระการประชุม เริ่มต้นด้วยการพิจารณาและรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 287 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 จากนั้น ที่ประชุมฯ ได้รับฟังการนำเสนอรายงานผลกระทบของสหภาพรัฐสภา (Impact Report) โดยเลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้สรุปเกี่ยวกับรายงานการดำเนินกิจกรรมของสหภาพรัฐสภา ระหว่างปี 2017-2021 และผลกระทบของการดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายที่ระบุในยุทธศาสตร์สหภาพรัฐสภา จำนวน 8 เป้าหมาย ที่ประชุมฯ มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง อาทิ กรรมการบริหารฯ จากจีน อุรุกวัย ชิลี อัลจีเรีย สเปน โดยที่ประชุมฯ ได้กล่าวขอบคุณเลขาธิการสหภาพรัฐสภาและเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภาที่ได้จัดทำรายงานผลกระทบการดำเนินกิจกรรมของสหภาพรัฐสภาในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาได้อย่างครอบคลุมครบถ้วน และเห็นควรให้มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล การพัฒนาทางสังคมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 

ในการนี้ นางพิกุลแก้ว  ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการบริหารฯ ได้แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมฯ ผ่านกระดานข้อความ (chat) โดยมีใจความสำคัญว่า “ตนขอแสดงความชื่นชมเลขาธิการสหภาพรัฐสภาและทีมงานที่ได้จัดเตรียมรายงานผลกระทบของสหภาพรัฐสภา ระหว่างปี 2017-2021 ได้อย่างดีเยี่ยม รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของสหภาพรัฐสภาในฐานะองค์กรภาครัฐสภาระดับโลกที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อาทิ จำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ของสหภาพรัฐสภา การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ การประชุมเสมือนจริง รวมถึงสมาชิกรัฐสภาสตรีและยุวสมาชิกรัฐสภามีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ สหภาพรัฐสภายังบรรลุผลสำเร็จในความริเริ่มใหม่ ๆ เช่น การเปิดตัว “Parliaments in a time of pandemic” ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้รัฐสภาสามารถจัดการความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และยังดำเนินกิจกรรมขององค์กรอย่างต่อเนื่องโดยจัดการประชุมแบบเสมือนจริงและแบบกายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้งประธานสหภาพรัฐสภาครั้งประวัติศาสตร์ในรูปแบบออนไลน์ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 206 และการจัดการประชุมประธานรัฐสภาโลก ครั้งที่ 5 (ภาคปกติ) ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ในขณะที่การแพร่ระบาดใหญ่ยังคงดำเนินอยู่ เรามีความภูมิใจที่จะกล่าวว่าสหภาพรัฐสภาได้บรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และยังคงรักษาไว้ซึ่งความเป็นเวทีภาครัฐสภาระดับโลกเพื่อแบ่งปันข้อมูล แนวปฏิบัติที่ดี และสร้างเสริมการเจรจาระหว่างรัฐสภาทั่วโลกให้มีความแข็งแกร่งตลอดช่วงห้าปีที่ผ่านมาและแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก ท้ายที่สุด ตนหวังว่าการนำแผนยุทธศาสตร์สหภาพรัฐสภาฉบับใหม่มาปฏิบัติจะทำให้องค์กรเติบโตอย่างมีพลวัติในอนาคตข้างหน้า”

ต่อมา ที่ประชุมฯ ได้รับฟังการนำเสนอสถานะทางการเงินของสหภาพรัฐสภา ณ วันที่ 31 มกราคม 2565 โดย Ms. Cecilia  Widegren กรรมการบริหารฯ จากสวีเดน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านการเงินของสหภาพรัฐสภา  (Sub-Committee on Finance) รวมถึงรับทราบรายงานความคืบหน้าของการระดมเงินทุนโดยความสมัครใจ รายงานการเงิน ประจำปี 2564 และรายงานของผู้สอบบัญชีภายนอก โดยสำนักงานผู้ควบคุมและตรวจสอบบัญชีแห่งอินเดีย (Office of the Comptroller and Auditor General of India: CAG) เกี่ยวกับรายงานการเงิน ประจำปี 2564 (Auditor’s Report) 
ที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณาเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสหภาพรัฐสภา โดยเลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้รายงานว่ามีองค์กรที่ขอเข้าเป็นสมาชิกผู้สังเกตการณ์ของสหภาพรัฐสภา จำนวน 3 องค์กร ซึ่งที่ประชุมฯ เห็นชอบให้สำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภาจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ จากนั้น ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน โดยกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์ทเวลฟ์พลัสได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการบริหารฯ เพื่อขอให้พิจารณาระงับสิทธิในการออกเสียงของรัสเซียและเบลารุส โดยที่ประชุมฯ มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง อาทิ กรรมการบริหารฯ จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน กรีซ ซิมบับเว อุรุกวัย ชิลี สเปน เซเนกัล โดยที่ประชุมฯ เห็นว่าสหภาพรัฐสภาควรแสดงบทบาทสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ควรเป็นเวทีให้ทั้งสองฝ่ายได้มาเจรจาเพื่อยุติสงครามและนำไปสู่สันติภาพ

ในการนี้ นางพิกุลแก้วฯ ได้แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมฯ ผ่านกระดานข้อความ (chat) โดยมีใจความสำคัญว่า “ประเทศไทยติดตามพัฒนาการสถานการณ์ในประเทศยูเครนด้วยความกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นได้คุกคามสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ  เรายึดถือหลักการที่อยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เราเห็นด้วยว่าการทูตและการเจรจาเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสันติ โดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา“

ในช่วงท้าย ที่ประชุมฯ ได้รับฟังรายงานสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกบางประเทศที่สหภาพรัฐสภามีข้อห่วงกังวล เช่น ปัญหาความไม่สงบหรือวิกฤตทางการเมือง การสู้รบขัดแย้งภายในประเทศ  การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย หรือการจัดตั้งสภาพลัดถิ่น เป็นต้น โดยประเทศที่เลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้รายงานสถานการณ์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริหารฯ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บูร์กินาฟาโซ เมียนมา ซูดาน ลิเบีย มาลี ตูนีเซีย เวเนซุเอลา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เฮติ ปาเลสไตน์ กินี กินี-บิสเซา เซาท์ซูดาน ซีเรีย และเยเมน   

เครดิต : ภาพและข่าว โดย  กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา  สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th