|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ 66
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 16 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 มี.ค. 65 เวลา 21.00 23.00 นาฬิกา นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมเสมือนจริง (virtual meeting) การประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ 66 หัวข้อ บทบาทของการเป็นผู้นำของสตรีและรัฐสภาที่คำนึงถึงมิติทางเพศในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดโดยสหภาพรัฐสภาร่วมกับ UN Women ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อหลักเรื่อง การบรรลุความเสมอภาคทางเพศและการเสริมพลังอำนาจแก่ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคนในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายและโครงการการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อม โดยมี Mr. Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา และ Ms. Asa Regner ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติและรองผู้อำนวยการ UN Women กล่าวเปิดการประชุม การประชุมแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 เป็นการอภิปราย หัวข้อ ความเป็นผู้นำของสตรีและการมีส่วนร่วมในทางการเมืองในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และช่วงที่ 2 หัวข้อ การปฏิรูปกฎหมายและนโยบายสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คำนึงถึงมิติทางเพศ และ รัฐสภาสีเขียว
ในการนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ร่วมอภิปรายในช่วงที่ 1 โดยมีใจความสำคัญว่า ในสังคมที่ยังให้ผู้ชายมีบทบาทนำ ผู้หญิงจะยังคงประสบกับความเหลื่อมล้ำและจำนวนผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจในการตัดสินใจมีจำนวนไม่มากนัก ภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือแม้แต่มลพิษที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นกำลังคุกคามสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ผู้หญิงและเด็กหญิงจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับความรู้เพื่อให้สามารถรับมือกับวิกฤตการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจที่เป็นผู้ชายอาจจะแก้ปัญหาเหล่านั้นโดยขาดความเข้าใจและความต้องการของเพศหญิง ด้วยเหตุดังกล่าว จึงจำเป็นที่ประเด็นความเท่าเทียมระหว่างเพศต้องนำมาพิจารณาเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเเละตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นกระแสหลัก เพราะปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงด้วย และด้วยความละเอียดอ่อนอันเป็นคุณลักษณะจำเพาะของผู้หญิงนี่เอง จึงเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาใด ๆ นั้นจะมีความครอบคลุมมากขึ้นหากจำนวนทั้งหญิงและชายอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมได้มีอำนาจการตัดสินใจร่วมกัน ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อความตกลงปารีสและได้กำหนดแผนปฎิบัติการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อีกทั้ง มีคณะกรรมการในระดับต่างๆเพื่อรับผิดชอบ ในการดำเนินงานสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมเป็นคณะกรรมการระดับนโยบายกำหนดทิศทางงานผู้หญิงกับสิ่งแวดล้อมโดยมีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวร่วมเป็นคณะกรรมการระดับนโยบายด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดเรื่องการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติทางเพศ ดังนั้นทุกโครงการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะได้รับงบประมาณโดยต้องคำนึงถึงมิติความเท่าเทียมระหว่างเพศด้วย ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุประสงค์ของความเท่าเทียมระหว่างเพศสอดคล้องกับการปรับตัวและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าผู้หญิงคือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)ที่แท้จริงในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เครดิตภาพและข่าว : โดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|