|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเขียนหนังสือราชการของฝ่ายนิติบัญญัติ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 14 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565
|
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนาบี 1- 2 ชั้นบี 1 โซนกลาง อาคารรัฐสภา นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเขียนหนังสือราชการของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมี นายเศรษฐพงษ์ ศรีเลิศ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม สำนักพัฒนาบุคลากร กล่าวรายงาน
ในการนี้ นางพรพิศ เพชรเจริญ กล่าวว่าตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเขียนหนังสือราชการของฝ่ายนิติบัญญัติในวันนี้ซึ่งจัดขึ้นตามแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ฉบับที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่กำหนดให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ทุกระดับ / ทุกสายงาน ตามมาตรฐานความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่กำหนด รวมทั้งทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในอนาคต และให้มีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงานด้านการเขียนหนังสือราชการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนภารกิจของสำนักงานฯ ให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด นอกจากนี้ การเขียนหนังสือราชการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์ คือ การมีหลักการในการเขียนที่ชัดเจน การใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา ใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส ส่วนศิลป์ คือ การใช้ภาษาให้มีสำนวนไพเราะ นุ่มนวล ดังนั้น จึงควรศึกษาและฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ โดยการใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการ จะต้องคำนึงถึงการใช้คำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์วิธีการ และรูปแบบของหนังสือราชการแต่ละประเภทต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังต้องใช้ประโยคที่กระชับ ชัดเจน สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจความต้องการ เพื่อให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะฉะนั้นการใช้ภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนหนังสือราชการเป็นอย่างมาก ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ ทั้งทางทฤษฎี และฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ การเขียนหนังสือราชการที่ดีจึงมีความสำคัญ และมีประโยชน์ ทั้งต่อตนเอง และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน แสดงถึงคุณภาพของผู้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี ในโอกาสนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเขียนหนังสือราชการตามหลักเกณฑ์วิธีการและระเบียบสารบรรณ พร้อมกันนี้ ขอขอบคุณอาจารย์พรสวรรค์ วินิจสร และอาจารย์เพียงใจ ระษารักษ์ ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร ตลอดจนสำนักพัฒนาบุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดโครงการในครั้งนี้ พร้อมทั้งขอให้การสัมมนาในครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง ตลอดจนผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเขียนหนังสือราชการ และมีศิลปะการใช้ถ้อยคำสำนวนในหนังสือราชการ และได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์การเขียนหนังสือราชการระหว่างกัน จากนั้นในเวลา 09.10-12.00 นาฬิกา เป็นบรรยายและการฝึกปฏิบัติเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการรูปแบบและองค์ประกอบของหนังสือราชการประเภทต่าง ๆ และเทคนิคการเขียนหนังสือราชการหนังสือโต้ตอบและฝึกปฏิบัติ
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|