กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
สหภาพรัฐสภาได้เผยแพร่เอกสารคู่มือสำหรับสมาชิกรัฐสภา ชุดที่ 33 เรื่อง การบัญญัติกฎหมายที่คำนึงถึงมิติหญิง-ชาย (Gender-responsive law-making)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 14 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

สหภาพรัฐสภาได้เผยแพร่เอกสารคู่มือสำหรับสมาชิกรัฐสภา ชุดที่ 33 เรื่อง “การบัญญัติกฎหมายที่คำนึงถึงมิติหญิง-ชาย” (Gender-responsive law-making)

การจัดทำเอกสารชุดนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี (Bureau of Women Parliamentarians)ในช่วงปี พ.ศ. 2559-2564) ได้มีส่วนร่วมจัดทำและให้ข้อมูลด้านกฎหมายของประเทศไทยให้แก่สหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union: IPU) และ UN Women

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้สมาชิกรัฐสภาทั่วโลกได้เห็นถึงความสำคัญในการพิจารณายกเลิกกฎหมายที่เป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศและระบุวิธีการในการบัญญัติกฎหมายที่เกิดประสิทธิผลมากขึ้นและให้ความคุ้มครองทางกฎหมายให้แก่ชายและหญิงอย่างเท่าเทียมกัน โดยการปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่าสมาชิกรัฐสภาหญิงมักเป็นผู้ผลักดันสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันการผลักดันดังกล่าวก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาชายด้วยซึ่งถือเป็นพันธมิตรสำคัญ ดังจะเห็นได้ว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ในภาคนิติบัญญัติ เช่น ประธานรัฐสภาหรือประธานคณะกรรมาธิการต่าง ๆ โดยมากมักเป็นผู้ชาย จึงถือเป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการผลักดันการปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศ
คู่มือฉบับนี้ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 >> กล่าวถึงลักษณะและผลกระทบของกฎหมายที่เลือกปฏิบัติระหว่างเพศ พร้อมยกตัวอย่างของกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อความเท่าเทียมระหว่างเพศ และประโยชน์ของกฎหมายที่สร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศ

ส่วนที่ 2 >> กล่าวถึงบทบาทของสมาชิกรัฐสภาในการบัญญัติกฎหมายที่คำนึงถึงมิติหญิง-ชาย โดยการเน้นคุณค่าของการปฏิรูปกฎหมายในการสนับสนุนความเท่าเทียมระหว่างเพศ บทบาทของสมาชิกรัฐสภาในการปฏิรูปกฎหมายที่คำนึงถึงมิติหญิง-ชาย ระบบและกระบวนการด้านนิติบัญญัติ ประเภทของกฎหมายที่อาจได้รับการปฏิรูป และวิธีการสร้างบรรยากาศให้เกิดการดำเนินการของรัฐสภา

ส่วนที่ 3 >> ถือเป็นส่วนสำคัญของคู่มือฉบับนี้โดยระบุวิธีการและกระบวนการในการบัญญัติกฎหมายที่คำนึงถึงมิติหญิง-ชายในแต่ละขั้นตอน ความสำคัญของกระบวนการการมีส่วนร่วม การระบุช่องว่างในกฎหมาย การบัญญัติกฎหมาย กฎหมายงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย และการตรวจสอบการดำเนินการตามกฎหมาย

ส่วนที่ 4 >> กล่าวถึงพันธกิจของประเทศภาคีสมาชิกทั้งในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ โดยเน้นที่อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) อันถือเป็นข้อบัญญัติสิทธิพื้นฐานระหว่างประเทศสำหรับผู้หญิงและเด็กหญิง

ทั้งนี้ ในหัวข้อเรื่องการบัญญัติกฎหมายงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิง-ชาย คู่มือฯ ได้ยกตัวอย่างการกำหนดด้านงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิง-ชายของประเทศไทยที่ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดี โดยอ้างถึงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 71 วรรคสี่ที่บัญญัติว่า “ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐพึงคํานึงถึงความจําเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และสภาพของบุคคล ทั้งนี้ เพื่อความเป็นธรรม” และพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ที่กำหนดนิยามและห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

https://www.ipu.org/resources/publications/handbooks/2021-11/gender-responsive-law-making

เครดิต : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th