|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการประชุมประสานงานร่วมว่าด้วยการเรียกร้องเพื่อภูมิภาคซาเฮล ครั้งที่ 1
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 16 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
|
เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 64 เวลา 16.00 - 19.00 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกคณะที่ปรึกษาระดับสูงว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงของสหภาพรัฐสภา (High-Level Advisory Group on Countering Terrorism and Violent Extremism : HLPF) เข้าร่วมการประชุมประสานงานร่วมว่าด้วยการเรียกร้องเพื่อภูมิภาคซาเฮล ครั้งที่ 1 (The First Coordination Meeting on the Call of the Sahel) จัดโดยความร่วมมือระหว่างสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU) รัฐสภาอาหรับ (Arab Parliament) คณะกรรมการรัฐสภาระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศ G5 ซาเฮล (G5 Sahel Inter-Parliamentary Committee) และสมัชชารัฐสภาเมดิเตอร์เรเนียน (Parliamentary Assembly of the Mediterranean : PAM)
สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดระดับโลกของภาครัฐสภาว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ครั้งที่ 1 (First Global Parliamentary Summit on Counter-Terrorism) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 64 ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ได้มีผลลัพธ์การประชุมที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การออกเอกสารเรียกร้องเพื่อภูมิภาคซาเฮล (Call of the Sahel) มุ่งเน้นให้มีการจัดตั้งกลุ่มการเมืองที่จะแลกเปลี่ยนพันธกรณีที่เข้มแข็งและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันร่วมกับคนในภูมิภาคซาเฮล จึงเป็นที่มาของการประชุมประสานงานร่วมฯ ครั้งนี้
โดยที่ประชุมได้รับฟังการกล่าวเปิดจาก Mr. Reinhold Lopatka สมาชิกรัฐสภาออสเตรีย ในฐานะประธานคณะที่ปรึกษา HLAG และ Mr. Jacques Laouhingamaye ในฐานะผู้แทนกลุ่มประเทศ G5 ซาเฮล ซึ่งกล่าวย้อนไปถึงการประชุมสุดยอดระดับโลกของภาครัฐสภาฯ อันเป็นความหวังของภูมิภาคซาเฮลในการต่อสู้เพื่อกอบกู้วิกฤตแห่งมวลมนุษยชาติจากภัยของการก่อการร้าย ที่ทำลายโอกาสของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) จากนั้น เป็นการอภิปราย 4 ช่วง โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ความร่วมมือระหว่างประเทศ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในระดับภูมิภาค และการปฏิบัติได้จริงควบคู่กับการกำกับติดตามผลการปฏิบัติ โดยที่ประชุมได้รับทราบถึงตัวเลขทางสถิติของการก่อการร้ายในภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ เศรษฐกิจ ความยากจน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความรุนแรงต่อสตรี เด็กและกลุ่มเปราะบาง การศึกษา และการโยกย้ายถิ่นฐาน ที่ทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในการนี้ ที่ประชุมได้รับฟังข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ การกระตุ้นให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การปกป้องกลุ่มเปราะบางจากภัยคุกคาม แนวทางแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม กรอบกฎหมายที่พัฒนาตามหลักนิติรัฐ การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่สมาชิกรัฐสภาในภูมิภาคอื่น ๆ ต่อสถานการณ์ในภูมิภาคซาเฮล ทั้งนี้ ต่อกรณีสตรี ได้คาดหวังที่จะให้มีเวทีการประชุมสุดยอดของสตรี และการมีเครือข่ายสตรี ซึ่งข้อเสนอแนะทั้งหมดไม่อาจดำเนินการได้หากปราศจากความร่วมมือของประชาคมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ สหภาพรัฐสภาอยู่ในระหว่างการขยายเครือข่ายความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว โดยมุ่งที่จะให้คณะกรรมการรัฐสภาระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศ G5 ซาเฮล เป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรในสหภาพรัฐสภา พร้อมทั้งจะนำประเด็นที่ได้จากการอภิปรายในการประชุมครั้งนี้ เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคณะที่ปรึกษา HLAG ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในวันศุกร์ที่ 26 พ.ย. 64 ณ กรุงมาดริด ราชอาณาจักรสเปนต่อไป
เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|