|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 286 ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
|
สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 286 ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 64 เวลา 20.30 - 23.30 น. นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา ได้เข้าร่วมการประชุมเสมือนจริง (Virtual Meeting) ของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 286 (The 286th Session of the Executive Committee) ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 เป็นวาระที่สอง ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 13 คน ประกอบด้วย กรรมการบริหารฯ จากแคนาดา จีน ชิลี เซอร์เบีย สวีเดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สวิตเซอร์แลนด์ ไทย อุรุกวัย ซิมบับเว อุซเบกิสถาน เซเนกัล และยูกันดา โดยมี Mr. Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา พร้อมด้วย Mr. Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา และ Ms. Francessa Martonffy ที่ปรึกษา เข้าร่วมประชุมด้วย
ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาหารือเรื่องต่าง ๆ ตามระเบียบวาระการประชุมที่ต่อเนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 64 เริ่มต้นด้วยการรับฟังเลขาธิการสหภาพรัฐสภานำเสนอแผนยุทธศาสตร์สหภาพรัฐสภา ปี 2022 - 2026 ซึ่ง Ms. Francesca Martonffy ได้ปรับแก้ไขตามข้อคิดเห็นของที่ประชุมในครั้งที่ผ่านมา โดยมีการปรับแก้ไขเพิ่มเติม อาทิ การเน้นย้ำการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของประชาชน และการดำเนินงานของรัฐสภาเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งที่ประชุมฯ มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง อาทิ กรรมการบริหารฯ จากจีน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซิมบับเว เห็นควรเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความร่วมมือในระบบพหุภาคีนิยม (Multilateralism) การจัดทำแผนปฏิบัติการตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการจัดทำตัวชี้วัดและประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ในการนี้ ที่ประชุมมีมติรับรองร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ และเห็นชอบให้แจ้งเวียนเอกสารไปยังรัฐสภาสมาชิกสหภาพรัฐสภาเพื่อให้ความคิดเห็น จากนั้น จะนำข้อคิดเห็นที่ได้รับจากรัฐสภาสมาชิกมาพิจารณาในที่ประชุม ณ กรุงมาดริด เพื่อจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับสุดท้ายและนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภาเพื่อพิจารณาและให้การรับรองในโอกาสการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 ต่อไป
ในการนี้ นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ได้นำส่งข้อคิดเห็นไปยังสำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีใจความสำคัญว่า ขอขอบคุณ Ms. Francesca Martonffy และสำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภาที่ได้ปรับแก้ไขร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ ตามข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการบริหารฯ ในเวลาอันจำกัด โดยได้เน้นย้ำประเด็นสำคัญ เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับเปลี่ยนการทำงานขององค์กร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการดำเนินการของสหภาพรัฐสภาที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การดำเนินการภาครัฐสภาเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและการจัดการภัยคุกคามของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งการมีส่วนร่วมของเยาวชนและสตรีในการสร้างสันติภาพและความมั่นคง เป็นต้น โดยร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับนี้เป็นเอกสารที่มีรายละเอียดสมบูรณ์และจะเป็นแนวทางการดำเนินงานขององค์กรในอีก 5 ปี ข้างหน้าต่อไป
ต่อมา ที่ประชุมได้รับฟังรายงานผลการดำเนินกิจกรรมของประธานสหภาพรัฐสภาในห้วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยมีกิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย การประชุมประธานรัฐสภาโลก ครั้งที่ 5 (ภาคปกติ) ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย การประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร และภารกิจการเดินทางไปยังประเทศเวเนซุเอลา นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับฟังเลขาธิการสหภาพรัฐสภานำเสนอรายงานกิจกรรมของสหภาพรัฐสภาในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งจะนำมารวบรวมเป็น Impact Report ประจำปี 2021 และนำเสนอในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 144 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสหภาพรัฐสภาและสถานการณ์ของรัฐสภาสมาชิกบางประเทศ โดยเลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการขยายสมาชิกภาพของสหภาพรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชิญชวนให้รัฐสภาของสหรัฐอเมริกากลับเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพรัฐสภา โดยมีการดำเนินการอย่างแข็งขัน อาทิ การส่งหนังสือแนะนำองค์กรและเผยแพร่สิ่งพิมพ์ของสหภาพรัฐสภาไปยังสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ ทุกท่าน และประธานรัฐสภาของสหภาพยุโรป 27 ประเทศลงนามในหนังสือถึง Ms. Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เพื่อเชิญชวนให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพรัฐสภา ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้รับฟังรายงานสถานะสมาชิกภาพในปัจจุบัน โดยมีรัฐสภาสมาชิกที่ยังค้างชำระค่าบำรุงสมาชิกซึ่งทำให้ถูกระงับสิทธิ/อาจถูกระงับสิทธิ/ถูกจำกัดสิทธิ รวมทั้งได้รับทราบข้อเสนอแนะของสำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภาในดำเนินการเพื่อให้การขยายสมาชิกภาพมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาการขอยกระดับสถานะจากผู้สังเกตการณ์เป็นสมาชิกสมทบขององค์กร Pan-African Parliament (PAP) และการขอเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์อีก 4 องค์กร ได้แก่ G5 Sahel Inter-Parliamentary Committee, Parliamentary Forum on Small Arms and Light Weapons (PF-SALW, International Parliamentary Network for Education (IPNEd) และ Sovereign Order of Malta โดยที่ประชุมไม่ขัดข้องในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบและผู้สังเกตการณ์ของ 5 องค์กรดังกล่าว และในช่วงท้าย ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการเตรียมการจัดการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 ณ ราชอาณาจักรสเปน โดยเลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้แจ้งว่าขณะนี้ มีคณะผู้แทนฯ จำนวน 66 ประเทศ ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมแล้ว สำหรับการประชุมคณะกรรมการบริหารฯ ครั้งถัดไป จะมีขึ้นในวันพุธที่ 17 พ.ย. 64
เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|