กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การประชุมผู้นำสตรีระดับโลก (Reykjavík Global Forum - Women Leaders) ในรูปแบบการประชุมแบบปกติและผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

 การประชุมผู้นำสตรีระดับโลก (Reykjavík Global Forum - Women Leaders) ในรูปแบบการประชุมแบบปกติและผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 64 เวลา 16.30 น. ณ ห้องประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2 สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา ศ.พิเศษกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมผู้นำสตรีระดับโลก (Reykjavík Global Forum - Women Leaders) ในรูปแบบการประชุมแบบปกติและผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้หัวข้อ “พลัง ร่วมกัน เพื่อความก้าวหน้า” (Power, Together for Progress) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 - 10 พ.ย. 64 ณ กรุงเรคยาวิก สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ โดยองค์กรผู้นำสตรีทางการเมืองร่วมกับรัฐสภาและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐไอซ์แลนด์

จากนั้น ในเวลา 17.45 น. ในช่วงกิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนของผู้นำ (Leaders Talk) ภายใต้หัวข้อ “การระบาดของโรคโควิด-19 : ความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียม (COVID-19 Pandemic : Disparities and Inequalities)” โดยมี น.ส.Barbara Angehrn ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจ บริษัท วีฟอร์ ฟาร์มา (Vifor Pharma) ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม และมีผู้ร่วมอภิปรายจำนวน 4 คน ประกอบด้วย
1) น.ส.Maria Holtsberg ที่ปรึกษาด้านมนุษยธรรมระดับภูมิภาคและผู้ประสานงานด้านโรคโควิด-19 สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ
2) น.ส.Naja Skouw-Rasmussen เจ้าหน้าที่สถาบันคลังสมองจาก European Haemophilia Consortium องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานร่วมกับผู้ป่วยโรคเลือดไหลไม่หยุดในยุโรป
3) น.ส.Irene Mathilde Hoesli-Krais ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบาเซิล สมาพันธรัฐสวิส
4) น.ส.Isabel de la Mata Barranco ที่ปรึกษาหลักด้านสุขภาพและการจัดการภาวะวิกฤต กรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและความปลอดภัยอาหาร คณะกรรมาธิการยุโรป
ซึ่งที่ประชุมได้หารือถึงประเด็นความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ โดยการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ตอกย้ำให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายกับหญิงในระบบบริการสุขภาพมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ทั่วโลกมีสัดส่วนเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่งผลให้ผู้หญิงได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่สุขภาพของผู้หญิงทั่วไปได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของระบบบริการสุขภาพ รวมถึงการบริการด้านอนามัย การเจริญพันธุ์ และสุขภาพของมารดา นอกจากนี้ การขาดแคลนเลือดทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงหากเกิดการตกเลือดหลังคลอด อีกทั้งโรคโลหิตจางที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในผู้หญิงยังได้รับการระบุว่าอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนด้วยเช่นกัน
ในการนี้ ศ.พิเศษกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ได้ฝากความคิดเห็นไปยังที่ประชุม โดยกล่าวว่าสมาชิกรัฐสภาไทยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลเพื่อดำเนินการจัดหาวัคซีนให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยให้ได้มากที่สุด โดยขณะนี้ประมาณร้อยละ 70 ของประชากรได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว และสำหรับการดูแลสุขภาพของสตรีมีครรภ์นั้น ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตของมารดาที่ต่ำมาก โดยมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 0.1

ทั้งนี้ ประธานรัฐสภาได้มอบหมาย น.ส.จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะทูตองค์กรผู้นำสตรีทางการเมืองประจำประเทศไทย (WPL Ambassador) กล่าวถ้อยแถลงในรูปแบบคลิปวีดิทัศน์ หัวข้อ “พลัง ร่วมกัน เพื่อความก้าวหน้า” (Power, Together for Progress) เพื่อนำส่งเผยแพร่ในที่ประชุม โดย น.ส.จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร ได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้นำทางการเมืองสตรีในการเป็นผู้นำร่วมของกลุ่มแนวร่วมปฏิบัติการสร้างความเท่าเทียมในการเคลื่อนไหวสตรีนิยมและภาวะผู้นำ และเน้นย้ำว่าปี 2020 – 2021 เป็นปีที่ท้าทายสำหรับความก้าวหน้าของสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 สตรีถูกผลักให้แสดงบทบาทสังคมแบบอนุรักษ์นิยม และกรณีการละเมิดต่อสตรีก็เพิ่มสูงขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการเพื่อลดการกระทำความรุนแรงต่อสตรี และกำลังดำเนินการพัฒนาคู่มือการทำงานเกี่ยวกับงบประมาณที่คำนึงถึงมิติหญิงชาย เพื่อส่งเสริมการจัดสรรงบประมาณอย่างเท่าเทียมกัน

นอกจากนี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือการที่สมาชิกรัฐสภาทุกเพศทำงานอย่างแข็งขัน และทำงานร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อผลักดันการเจรจา การสนับสนุนทางการเมือง และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศ ดังนั้น รัฐสภาควรเป็นเวทีสำหรับกลุ่มสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรสตรีและรัฐบาล และสามารถดำเนินการเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าได้

เครดิต: ภาพและข่าวโดย กลุ่มงานสหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th