เมนูหลัก
วีดิทัศน์สำนักงานฯ
ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔
๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา
เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที
วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า
สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ
สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 286 ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 64 เวลา 20.30 - 23.00 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา เข้าร่วมการประชุมเสมือนจริง (virtual meeting) ของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 286 (The 286th session of the Executive Committee) ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 14 คน ประกอบด้วย กรรมการบริหารฯ จากประเทศแคนาดา จีน ชิลี เซอร์เบีย สวีเดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สวิตเซอร์แลนด์ ไทย อุรุกวัย ซิมบับเว อุซเบกิสถาน ปากีสถาน เซเนกัล และยูกันดา โดยมี Mr. Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา พร้อมด้วย Mr. Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา และ Ms. Francessa Martonffy ที่ปรึกษา เข้าร่วมการประชุมด้วย
โดยที่ประชุมฯ ได้พิจารณาหารือประเด็นต่าง ๆ ตามระเบียบวาระการประชุม เริ่มต้นด้วยการรับรองรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 286 เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 64 จากนั้น ที่ประชุมฯ ได้รับฟังการนำเสนอความคืบหน้าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สหภาพรัฐสภา ปี 2022-2026 โดยเลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้สรุปเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สหภาพรัฐสภาฉบับใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นตอนการประเมิน (Assessment) และ (2) การทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Revision) โดยการประชุมในครั้งนี้จะเป็นการพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์ที่ได้จัดทำตามมติที่ประชุมฯ เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 64 ซึ่งได้เห็นชอบให้จัดทำแผนยุทธศาสตร์สหภาพรัฐสภาฉบับใหม่ที่ประกอบด้วยวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Objectives) จำนวน 5 เป้าหมาย ได้แก่ (1) Building effective and empowered parliaments (2) Promoting inclusive and representative parliaments (3) Supporting resilient and innovative parliaments (4) Catalysing collective parliamentary action และ (5) Strengthening the IPUs accountability จากนั้น ที่ประชุมฯ ได้รับฟังการนำเสนอรายละเอียดของแผนยุทธศาสตร์จาก Ms. Francesca Martonffy โดยได้กล่าวถึงขั้นตอนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ความเปลี่ยนแปลงจากแผนยุทธศาสตร์ปี 2017-2021 เช่น การมุ่งให้ความสำคัญกับกลุ่มคนชายขอบ ความยืดหยุ่น และความรับผิดชอบ เน้นการมีส่วนร่วมและแนวทางให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วมของเยาวชนในฐานะผู้นำความเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมบทบาทของการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ที่ประชุมฯ มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง อาทิ กรรมการบริหารฯ จากอุรุกวัย จีน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยที่ประชุมฯ เห็นควรให้เน้นย้ำการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทบาทการเป็นตัวแทนในระบอบประชาธิปไตย การตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของพันธมิตรและให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง การจัดทำแผนปฏิบัติการตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการจัดทำตัวชี้วัดและประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ในการนี้ ที่ประชุมฯ ได้มีมติให้กรรมการบริหารฯ นำส่งข้อคิดเห็นต่อร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ เป็นลายลักษณ์อักษรไปยังสำนักงานเลขาธิการสหภาพรัฐสภา เพื่อเป็นข้อมูลให้ Ms. Francesca Martonffy นำไปปรับแก้ไขและจัดทำเป็นร่างแผนยุทธศาสตร์ฉบับสุดท้ายเพื่อแจ้งเวียนให้กับรัฐสภาสมาชิกสหภาพรัฐสภา จากนั้น จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภาเพื่อพิจารณาและให้การรับรองในโอกาสการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 ต่อไป ในช่วงท้าย ที่ประชุมฯ ยังได้รับทราบรายงานความคืบหน้าการเตรียมการจัดการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 ณ ราชอาณาจักรสเปน โดยเลขาธิการสหภาพรัฐสภาแจ้งว่าได้ดำเนินการส่งหนังสือเชิญเข้าร่วมการประชุมไปยังรัฐสภาสมาชิกแล้ว รวมถึงแจ้งกำหนดเวลาการลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมได้ถึงวันที่ 12 พ.ย. 64 ซึ่งขณะนี้ มีคณะผู้แทนฯ จำนวน 40 ประเทศ ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้ กรรมการบริหารฯ จากจีนและแคนาดาได้สอบถามถึงทางเลือกในกรณีที่คณะผู้แทนฯ ไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมการประชุม ณ กรุงมาดริด โดยประธานสหภาพรัฐสภาได้แจ้งว่าไม่สามารถจัดการประชุมในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ได้ เนื่องจากมีเวลาค่อนข้างจำกัด ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการบริหารฯ ครั้งถัดไปจะมีขึ้นในวันอังคารที่ 9 พ.ย. 64
เครดิตภาพและข่าว : โดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร