กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
"สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ของสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการของสหประชาชาติ ชุดที่หก"

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

เมื่อวันพุธที่ 20 ตุลาคม 2564 เวลา 20.00 – 21.00 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภา ได้แก่ พลเอก เลิศรัตน์  รัตนวานิช และ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล เข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปสำหรับสมาชิกรัฐสภาว่าด้วยกิจการของสหประชาชาติ ชุดที่หก (6th Briefing for Parliamentarians on the UN Affairs) หัวข้อ “งบประมาณด้านการทหารที่เพิ่มขึ้นกับกลไกควบคุมของ UN : ภารกิจที่ยากเกินจะบรรลุ? (Rising military budgets and the UN mechanism to curb them : Mission impossible?)” จัดขึ้นโดยสหภาพรัฐสภา ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom ดำเนินรายการโดย Ms. Patricia Torsney ผู้สังเกตการณ์ถาวรของสหภาพรัฐสภาประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก 

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือปัจจัยอื่น ๆ ไม่ได้ทำให้งบประมาณทางการทหารทั่วโลกลดลง แต่ในทางตรงกันข้าม งบประมาณดังกล่าว ซึ่งไม่ได้ช่วยในด้านการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน กลับมีการขยายตัวขึ้นเกือบ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563 ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดอีกด้วย ในเรื่องนี้ สหประชาชาติจึงได้กำหนดกลไกติดตามการใช้จ่ายงบประมาณด้านการทหารในระดับชาติ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างความตระหนักรู้ กระตุ้นให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารงบประมาณ และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศ สาระสำคัญของกลไกดังกล่าว คือระบบการรายงาน ซึ่งให้รัฐสมาชิกสามารถเปิดเผยรายงานประจำปีว่าด้วยการใช้จ่ายงบประมาณทางการทหารของตนต่อสาธารณชน และนำเสนอต่อสหประชาชาติโดยสมัครใจ

ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้รับฟังทัศนะจาก H.E. Mr. Rodrigo Carazo เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งคอสตาริกาประจำสหประชาชาติ ซึ่งย้ำว่าคอสตาริกาเป็นประเทศที่ไม่มีการตั้งงบประมาณด้านการทหาร และยืนยันว่าสันติภาพสามารถบรรลุได้โดยไม่ต้องใช้อาวุธ ด้าน Ms. Izumi Nakamitsu รองเลขาธิการสหประชาชาติและผู้แทนระดับสูงด้านการลดอาวุธประจำสหประชาชาติ (UN Under-Secretary-General and High Representative for Disarmament Affairs) ระบุว่าโลกยังคงเต็มไปด้วยการสะสมอาวุธขณะที่โครงการด้านสังคมและเศรษฐกิจยังคงได้รับจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อไป โดยมีเพียงบางประเทศที่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องอื่น ๆ อาทิ การเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 ขณะที่ H.E. Mr. Jan Eliasson ประธานสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศแห่งกรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm International Peace and Research Institute : SIPRI) และอดีตประธานสมัชชาสหประชาชาติ ได้ย้ำถึงประเด็นทางเลือกของการใช้งบประมาณ โดยเปรียบเทียบว่างบประมาณด้านการทหารทั่วโลก ในปี 2563 เพียงร้อยละ 10 ของจำนวนทั้งหมด ครอบคลุมและเกือบที่จะสามารถนำมาใช้ช่วยเหลือประเทศยากจนทั่วโลกทั้งหมดได้ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 1 ว่าด้วยการขจัดความยากจน

ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมกันอภิปรายอย่างกว้างขวางว่าปัญหาความขัดแย้งและความตึงเครียดระหว่างประเทศทั่วโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น หรือประเด็นนัยทางการค้าของประเทศที่ผลิตและส่งออกอาวุธ ในบริบท อุตสาหกรรมด้านการทหาร (military-industrial complex) ผลักดันให้งบประมาณทางการทหารเพิ่มขึ้น สะท้อนความสลับซับซ้อนที่เกี่ยวพันกันทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ จนยากที่จะคลี่คลายได้โดยง่าย ปัญหาเกี่ยวกับระบบการรายงานงบประมาณด้านการทหาร ซึ่งดำเนินการในรูปแบบภาคสมัครใจ จึงเกิดขึ้นเมื่อประเทศทั้งหลายต่างให้ความสำคัญในการรายงานน้อยมาก โดยในปี 2563 มีประเทศที่แลกเปลี่ยนรายงานประจำปี เพียง 40 ประเทศ ตลอดจนแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งถือเป็น “ศัตรู” ตัวฉกาจของต่อความมั่นคงของมนุษยชาติโลกในปัจจุบัน และงบประมาณทั้งหลายควรเร่งจัดสรรลงไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ การปรับตัว และการฟื้นคืนสภาพ มากกว่าที่จะมุ่งเน้นใช้งบประมาณเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านอาวุธทางการทหาร โอกาสนี้ นายอนุศาสน์  สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ได้ร่วมตั้งคำถามต่อผู้นำการอภิปรายว่าการก่อการร้ายถือเป็นเหตุผลหนึ่งที่รัฐมักใช้อ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการเพิ่มงบประมาณด้านการทหารด้วยหรือไม่

เครดิต : ภาพและข่าวโดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th