กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
"สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ระดับโลกขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของภาครัฐสภาในการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในช่วงวิกฤตโควิด-19"

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 เวลา 19.30 - 22.00 นาฬิกา (ตามเวลาในประเทศไทย) ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์  ตันติศิรินทร์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เข้าร่วมการสัมมนารัฐสภาระดับโลกว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในช่วงวิกฤตโควิด-19 (Virtual Parliamentary Global Dialogue : Food Security and Nutrition in the time of COVID-19) จัดโดย องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือเป็นการเสวนาใหญ่รายการสุดท้ายในชุดการเสวนาของภาครัฐสภา หลังจาก FAO ได้หมุนเวียนจัดการเสวนาระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 จนครบทั้ง 6 ภูมิภาคในโลก

ในการนี้ ศ.เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมถึงความสำเร็จของการเสวนาระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในหัวข้อเดียวกัน เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 64 มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของแต่ละประเทศต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเฉพาะบทบาทและการดำเนินการของรัฐสภาในการมีส่วนร่วมกับการรับมือความท้าทายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในมิติด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ โดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนต่าง ๆ และการมีส่วนร่วมของชุมชน  พร้อมทั้ง นำเสนอตัวอย่างการดำเนินการของรัฐสภาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก อาทิ การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กลุ่มเปราะบางเพื่อลดค่าครองชีพและสามารถเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ ถูกหลักโภชนาการ การสร้างความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานอาหาร (Food Supply Chain) การค้าขายที่โปร่งใสและเป็นธรรมในทุกระดับ และการลงทุนด้านการวิจัย การพัฒนานวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาใช้กับการเกษตร การปรับปรุงพันธุศาสตร์และเมล็ดพันธุ์พืช รวมทั้ง คำนึงถึงสิทธิในการเข้าถึงอาหารของประชาชน (Right to Food) เพื่อรับมือกับวิกฤตความท้าทายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ บทบาทของรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและสร้างความมั่นคงทางอาหารในฐานะผู้แทนของประชาชนผ่านการออกกฎหมาย การพิจารณางบประมาณ การติดตามกำกับตรวจสอบการทำงานของภาครัฐบาล โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมและผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในทุกระดับ นอกจากนั้น บทบาทของกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศจะมีส่วนผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อผลักดันให้การดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการเป็นไปอย่างยั่งยืนและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) 

เครดิต : ภาพและข่าว โดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th