|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ของสหภาพรัฐสภาในโอกาสวันประชาธิปไตยสากล ประจำปี 2564
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 17 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
|
เมื่อวันพุธที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 21.00 - 22.30 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย สมาชิกวุฒิสภาเข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ของสหภาพรัฐสภาในโอกาสวันประชาธิปไตยสากล ประจำปี 2564 พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา และนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการบริหารหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภา เข้าร่วมการเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เนื่องในโอกาสวันประชาธิปไตยสากล ประจำปี 2564 ภายใต้หัวข้อ ประชาธิปไตยอยู่ในภาวะวิกฤตจริงหรือ? (Is democracy really in crisis?) จัดโดยสหภาพรัฐสภา (IPU) ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมี Mr. Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา Ms. Hélène Landemore นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล Mr. Jan-Werner Mueller นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เป็นผู้นำการอภิปราย และดำเนินรายการโดยนาย Ravi Agrawal บรรณาธิการใหญ่วารสาร Foreign Policy ทั้งนี้ มีสมาชิกรัฐสภาและเจ้าหน้าที่รัฐสภากว่า 110 คนทั่วโลกเข้าร่วมวงเสวนา
สรุปประเด็นสำคัญที่น่าสนใจจากกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ 1) ความท้าทายของประชาธิปไตยจากการก้าวขึ้นของผู้นำเผด็จการ การใช้กำลังเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง และการก่อการร้ายในพื้นที่ต่าง ๆ 2) ความแตกต่างหลากหลายของประชาธิปไตย อาทิ ระบบการเลือกตั้งและวัฒนธรรมการเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นกรณีศึกษาซึ่งกันและกันได้ 3) อิทธิพลของสื่อในสังคมการเมืองยุคดิจิทัล ซึ่งแม้จะช่วยส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยได้ขณะเดียวกันก็สามารถบั่นทอนประชาธิปไตยเช่นกัน กรณีที่สื่อเลือกข้างและขบวนการข่าวปลอม (Fake news) 4) การเสริมสร้างหรือฟื้นฟูประชาธิปไตย (Revitalization of democracy) ที่คำนึงถึงประชาชนทุกคนทุกกลุ่ม 5) การผลักดันการมีส่วนร่วมของเยาวชนในกระบวนการประชาธิปไตยและการเพิ่มสัดส่วนของเยาวชนในระบบรัฐสภา ให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรโลกที่มากกว่าครึ่งอายุต่ำกว่า 30 ปี และ 6) บทบาทของรัฐสภาที่ต้องเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการกำกับตรวจสอบที่มากขึ้น เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐ และการขับเคลื่อนไปสู่รัฐสภาดิจิทัล เพื่อให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น
นอกจากนี้ ในระหว่างการอภิปราย U Aung Kyi Nyunt ประธานคณะกรรมการตัวแทนสมัชชาแห่งสหภาพ (Committee Representing the Hluttaw) หรือรัฐสภาเมียนมาที่มาจากการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2563 ในฐานะแขกรับเชิญพิเศษ ได้กล่าวเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศช่วยเหลือและสนับสนุนให้เมียนมากลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาได้โดยเร็ว เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากเสียชีวิตและได้รับผลกระทบอย่างหนักหลังการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา
เครดิต : ภาพและข่าวโดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|