|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
"สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ของสหภาพรัฐสภาในหัวข้อ บทบาทของรัฐสภากับสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าอาวุธ (ATT)"
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 3 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
|
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 เวลา 21.30-23.00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา และกรรมการบริหารหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภา เข้าร่วมกิจกรรมการเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในโอกาสการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าอาวุธ ครั้งที่ 7 (the 7th Conference of State Parties to the Arms Trade Treaty: CSP7) ในหัวข้อ "The potential of parliamentary processes to advance the universalization of the ATT" ผ่านโปรแกรม ZOOM จัดโดยสหภาพรัฐสภาร่วมกับคณะผู้แทนถาวรสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนประจำสหประชาชาติ ในฐานะประธานการประชุม CSP7
โดยในวงเสวนามีผู้นำการอภิปรายประกอบด้วย H.E. Lansana Gberie ประธานการประชุมรัฐภาคีว่าด้วยสนธิสัญญาการค้าอาวุธ ครั้งที่ 7 และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสาธารณรัฐเซียร์ราลีโอนประจำสหประชาชาติ กล่าวเปิดกิจกรรม พร้อมทั้ง Mr. Saber Hossain Chowdhury สมาชิกรัฐสภาจากบังกลาเทศและอดีตประธานสหภาพรัฐสภา และ Ms. Salma Ataullahjan สมาชิกวุฒิสภาจากแคนาดา ร่วมอภิปราย โดยมี Ms. Patricia Torsey หัวหน้าสำนักงาน IPU ประจำนครนิวยอร์กเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยผู้เข้าร่วมการเสวนาได้รับฟังการนำเสนอและร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับโครงการที่ริเริ่มขึ้นโดยสหประชาชาติและ IPU โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรัฐสภาทั้งจากประเทศที่เป็นรัฐผู้ลงนาม เป็นรัฐที่ลงนามแล้วแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน หรือรัฐที่มิได้เป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญา ATTได้เกิดความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมในการแก้ไขประเด็นปัญหาว่าด้วยการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของอาวุธเล็กและอาวุธเบา (Small Arms and Light Weapons: SALW) ที่ผิดกฎหมาย และอภิปรายเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลกระทบของ การค้าและการขนถ่าย SALW อย่างผิดกฎหมาย ต่อสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน อันจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนเข้าใจถึงศักยภาพของรัฐสภาในการผลักดันให้สนธิสัญญาว่าด้วยการค้าอาวุธ (Arms Trade Treaty: ATT) ได้มีความคืบหน้าในระดับโลก รวมถึง ร่วมวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้หลายประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญา ATT
เครดิตข่าวและภาพ : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|