|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดทำคู่มือสำหรับสมาชิกรัฐสภาว่าด้วยการปฏิบัติตามอนุสัญญา CEDAW
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 24 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
|
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.00-15.30 นาฬิกา นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกคณะ กมธ. สหภาพรัฐสภาสตรี ได้เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ Expert Focus Group เพื่อจัดทำคู่มือสำหรับสมาชิกรัฐสภาว่าด้วยการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against WomenCEDAW) จัดโดยสหภาพรัฐสภา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 15 คน ประกอบด้วย สมาชิกรัฐสภาจากประเทศไทย เลบานอน อียิปต์ กรีซ ฮังการีและแทนซาเนีย รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสหภาพรัฐสภาและเจ้าหน้าที่รัฐสภาที่สนใจ ซึ่งที่ประชุมฯ ได้แบ่งการอภิปรายเพื่อรวบรวมความคิดเห็น ประสบการณ์ และวิธีปฏิบัติที่ดีจากสมาชิกรัฐสภาที่เข้าร่วมการประชุมออกเป็น 4 ช่วงดังนี้ ช่วงที่ 1 บทบาทของรัฐสภาในการดำเนินการตามอนุสัญญา CEDAW ช่วงที่ 2 บทบาทของรัฐสภาในการรายงานต่อคณะกรรมการ CEDAW ช่วงที่ 3 รัฐสภาในฐานะเป็นสถาบัน และ ช่วงที่ 4 การเสริมสร้างบทบาทของรัฐสภาในสังคมเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ
โอกาสนี้ นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ได้ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมฯ ถึงประสบการณ์และความก้าวหน้าของประเทศไทยในการดำเนินการตามอนุสัญญา CEDAW อาทิ การตรากฎหมายต่าง ๆ ที่สำคัญโดยเฉพาะบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 ที่ให้หลักประกันความเท่าเทียมระหว่างหญิงและชาย แนวคิดเรื่องการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติทางเพศหรือ Gender Responsive Budgeting (GRB) และข้อกำหนดให้พรรคการเมืองคำนึงถึงความเท่าเทียมระหว่างหญิงและชายในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ ตลอดจนความก้าวหน้าด้านกฎหมายอื่น ๆ ได้แก่ การออก พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2562 ที่มีบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดกรณีกระทำชำเราต่อคู่สมรส โดยการขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย หรือผู้นั้นอยู่ในภาวะที่มิอาจขัดขืนได้ รวมไปถึง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ที่ได้แก้ไขส่วนสำคัญในเรื่องของสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นของลูกจ้างหญิง
นอกจากนี้ ในส่วนของรัฐสภาก็มีความก้าวหน้าในฐานะสถาบันที่คำนึงถึงมิติทางเพศ โดยการจัดตั้งคณะ กมธ. และอนุ กมธ.ด้านสังคมของทั้งสองสภานั้น ได้มีการเพิ่มกลุ่มประชากรคือ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไว้ในอำนาจหน้าที่ของคณะ กมธ. ด้วย อีกทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภายังได้ออกประมวลจริยธรรมโดยห้ามมิให้การล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นในรัฐสภา โดยมีกลไกการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมของทั้งสองสภามีอำนาจหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติผิดด้านจริยธรรม และสมาชิกรัฐสภาสตรีได้มีการรวมตัวกันเป็นชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทยเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมพลังของสตรีร่วมกับองค์กรพันธมิตรภายนอกรัฐสภา ทั้งนี้ ผลการเสวนาที่รวบรวมได้จากกิจกรรมระดมสมอง ทั้ง 3 ครั้ง ในช่วง 2 วัน ระหว่างวันที่ 22-23 ก.ค. 64 ในครั้งนี้ จะได้นำไปประมวลเพื่อประกอบการปรับปรุงคู่มือของ IPU สำหรับสมาชิกรัฐสภาว่าด้วยการดำเนินการตามพันธกรณีของ CEDAW ซึ่ง IPU จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2546 ต่อไป
เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|