กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา ได้เข้าร่วมการประชุมเสมือนจริง (virtual meeting) ของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 285 ครั้งที่ 7 (The 285th session of the Executive Committee) ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 142

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 21 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

เมื่อวันพุธที่ 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 19.00-22.00 นาฬิกา นางพิกุลแก้ว  ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา ได้เข้าร่วมการประชุมเสมือนจริง (virtual meeting) ของคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 285 ครั้งที่ 7  (The 285th session of the Executive Committee) ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 142 ซึ่งมีคณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 14  คน ประกอบด้วย กรรมการบริหารฯ จากแคนาดา ชิลี จีน เซเนกัล เซอร์เบีย สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ยูกันดา อุรุกวัย อุซเบกิสถาน ซิมบับเว และประธานคณะกรรมการการประชุมยุวสมาชิกรัฐสภา โดยมีนาย Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภาทำหน้าที่ประธานการประชุมฯ รวมทั้งเลขาธิการสหภาพรัฐสภา ทำหน้าที่เลขานุการการประชุม

ในการประชุมนัดแรกนี้ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาระเบียบวาระ 3 เรื่องสำคัญ คือ (1) รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 64 และครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 64 (2) รับฟังรายงานสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกบางประเทศที่ IPU มีข้อห่วงกังวล เช่น ปัญหาความไม่สงบหรือวิกฤตทางการเมือง การสู้รบขัดแย้งภายในประเทศ  การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย หรือการจัดตั้งสภาพลัดถิ่น เป็นต้น โดยประเทศที่เลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้รายงานสถานการณ์ดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริหาร ได้แก่ เยเมน เวเนซุเอลา เมียนมา เฮติ ซูดาน ชาด ลิเบีย และมาลี ในส่วนการพิจารณาปัญหาของเวเนซุเอลานั้น ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาร่วมกันในการส่งคณะผู้แทนของ IPU เพื่อลงพื้นที่จริงในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 ทั้งนี้ให้คำนึงถึงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และงบประมาณที่มีอยู่ด้วย โดยที่ประชุมฯ มีมติให้ส่งคณะผู้แทนคณะกรรมการบริหารฯ เพื่อเดินทางไปยังประเทศเวเนซุเอลาในช่วงกลางเดือนมิถุนายน - ต้นกรกฎาคม เพื่อเก็บข้อมูลที่สำคัญและนำเสนอรายงานพร้อมข้อเสนอแนะให้แก่คณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภา ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับสถานภาพสมาชิกสหภาพรัฐสภาของประเทศเวเนซุเอลาในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 143 ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ต่อไป
ต่อมาที่ประชุมได้รับทราบรายงานสถานการณ์ของเมียนมา ซึ่งคณะกรรมการบริหารได้เคยมีมติไม่ระงับสมาชิกภาพของเมียนมาใน IPU และเชิญให้ตัวแทนของ Committee to Represent the Pydaungsu  Hluttaw (CRPH) ที่จัดตั้งโดยสมาชิกรัฐสภาของเมียนมาหลังจากการรัฐประหารในเดือน ก.พ. 64 เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาในฐานะผู้สังเกตการณ์ได้ แม้คณะผู้แทนถาวรของเมียนมาประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา จะคัดค้านขอให้ IPU ทบทวนการเชิญตัวแทน CRPH เนื่องจากมิใช่ตัวแทนของเมียนมาที่ชอบธรรมในเวทีระหว่างประเทศก็ตาม

สำหรับสถานการณ์ในเฮตินั้นขณะนี้ยังไม่มีการเลือกตั้ง ส่วนซูดานมีประเด็นปัญหาการเมืองภายในที่ส่งผลให้ซูดานค้างชำระค่าบำรุงสมาชิกภาพของ IPU มาเป็นเวลาติดต่อกัน 2 ปีแล้ว ส่วนชาดนั้นมีประเด็นกองทัพเข้ามาแทรกแซงการเมืองอีกครั้ง ลิเบียมีการพัฒนาที่ดีขึ้น และมาลีมีพัฒนาการเชิงบวกหลังจากมีการรัฐประหารเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยรัฐบาลเฉพาะกาลมาลีประกาศกำหนดให้มีการทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในวันที่ 31 ต.ค. 64 ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารของ IPU จะได้จัดทำข้อเสนอแนะเสนอต่อคณะมนตรีบริหารที่จะมีการประชุมในสัปดาห์หน้าต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ถอดกรณีของไทยออกจากกลุ่มประเทศที่เผชิญกับวิกฤติทางการเมืองที่ IPU มีข้อห่วงกังวล เนื่องจาก สถานการณ์ในประเทศไทยในปัจจุบันมิได้เข้าข่ายวิกฤติการณ์ทางการเมืองดังเช่นในหลายประเทศ

ในการนี้ นางพิกุลแก้ว  ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรรมการบริหารฯ ได้กล่าวขอบคุณเลขาธิการสหภาพรัฐสภาที่เข้าใจสถานการณ์ของไทย และกล่าวว่าสถานการณ์ของไทยในขณะนี้ ไม่ถือว่าเข้าข่ายวิกฤติทางการเมืองแต่อย่างใด และการจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศดังกล่าว จะทำให้ประชาคมโลกได้รับภาพลักษณ์ไทยที่ผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง รวมถึงขณะนี้มีสมาชิกรัฐสภาของไทยหลายคนทำงานอย่างแข็งขันในคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ของ IPU ตลอดจนสัปดาห์หน้า รัฐสภาไทยจะเปิดสมัยประชุมสามัญเพื่อพิจารณางบประมาณประจำปี 2565 ซึ่งสะท้อนว่ารัฐสภาไทยยังคงทำงานได้ตามปกติ และขอบคุณเลขาธิการสหภาพรัฐสภาอีกครั้งที่เสนอให้ถอนประเทศไทยออกจากกลุ่มประเทศที่ IPU มีข้อห่วงกังวล (3) เห็นชอบในหลักการ เรื่องการจัดตั้งรางวัล Cremer-Passy Prize ซึ่งกรรมการบริหารได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางพร้อมให้ข้อสังเกตในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ มูลค่าของรางวัล รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของรางวัล และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารของ IPU ในการกำหนดเกณฑ์ และกระบวนการตัดสินผู้ที่ควรได้รับรางวัล

เครดิตภาพและข่าว : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th