|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 30 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
|
เมื่อวันพุธที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 19.00 นาฬิกา (ตามเวลาในประเทศไทย) นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีวาระสำคัญ ได้แก่ การอภิปรายในหัวข้อหลักของการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 142 เรื่อง Overcoming the pandemic and building a better tomorrow: the role of parliaments ผ่านมุมมองด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยมี Ms. Arda Gerkens รองประธานวุฒิสภาของเนเธอร์แลนด์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุมโดยแบ่งการประชุมออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1. ผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน และ 2. ผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อการทำหน้าที่ของรัฐสภา
ในช่วงที่ 1 ที่ประชุมได้ร่วมกันอภิปรายถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดย Ms. Laura Thornton, Director for Global Program จากองค์กร International IDEA และ Me. Bako Arifari สมาชิกรัฐสภาจากประเทศเบนิน ร่วมกันนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงจำนวนประเทศที่รัฐบาลใช้อำนาจพิเศษในภาวะฉุกเฉินเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 96 ประเทศ จากทั้งหมด 162 ประเทศ (คิดเป็นร้อยละ 59) ซึ่งการใช้มาตรการฉุกเฉินจำเป็นต้องคำนึงถึงมิติต่าง ๆ อาทิ หลักประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ความชอบด้วยหลักนิติธรรม ความสมเหตุสมผลและความจำเป็นต่อสถานการณ์ รวมทั้ง ระยะเวลาของการบังคับใช้ ทั้งนี้ พบสถิติที่น่าสนใจว่า ร้อยละ 46 ของประเทศที่อยู่ระหว่างการดำเนินกระบวนการจัดการเลือกตั้งภายในประเทศ มีความจำเป็นต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไป ซึ่งในจำนวนนี้ คิดเป็นร้อยละ 10 ที่ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด นอกจากนั้น ยังเกิดผลกระทบที่เกี่ยวกับประเด็นความเท่าเทียมกันทางเพศ เช่น เกิดความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับมิติทางเพศมากยิ่งขึ้น และการออกมาตรการต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อประเด็นที่อ่อนไหวทางเพศ เป็นต้น ดังนั้น ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงทำให้เกิดการหยุดชะงักและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการต่าง ๆ ตามกระบวนการประชาธิปไตย โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่ลดลง ซึ่งเป็นที่มาของกระบวนการเรียกร้องต่าง ๆ ทางสังคม เช่น การชุมนุมประท้วงต่อรัฐบาลทั้งในแง่การเรียกร้องประชาธิปไตย การปิดกั้นเสรีภาพ และปัญหาการตอบสนองและการรับมือต่อโรคระบาด เป็นต้น โดยมีความกังวลว่าในอนาคตจะเกิดความถดถอยและล้มเหลว จนกลายเป็นวิกฤตของประชาธิปไตยในบางประเทศอันเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีวิกฤตการณ์ดังกล่าวสร้างโอกาสให้เกิดพัฒนาการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ เช่น การใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเลือกตั้ง การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของกระบวนการทางรัฐสภา เป็นต้น ทั้งนี้ สมาชิกรัฐสภาจากประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่นำเสนอการดำเนินการในภาพรวมของประเทศ และแสดงความกังวลต่อผลกระทบต่าง ๆ ที่เป็นความท้าทายต่อการดำเนินการตามกระบวนการประชาธิปไตย รวมทั้งการเตรียมการรับมือต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย
สำหรับช่วงที่ 2 ผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อการทำงานของรัฐสภา มีการนำเสนอรายงานจาก Centre for Innovation โดย Mr. Andy Williamson ซึ่งกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อระบบงานและกระบวนการด้านนิติบัญญัติ เช่น การปรับตัวของกระบวนการทางรัฐสภาในการใช้ระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งพบว่าในจำนวนนี้ กว่าร้อยละ 30 มีการประชุมรัฐสภาสมัยสามัญ (Plenary session) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหลายประเทศมีแนวโน้มที่จะนำระบบการประชุมและการลงมติผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินกิจกรรมของรัฐสภาต่อไป ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบงานรัฐสภา เช่น มีการปรับตัว ยืดหยุ่น และเปิดรับการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินการของรัฐสภาเพิ่มมากยิ่งขึ้น การก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ ในการสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการดำเนินการทางรัฐสภาผ่านระบบทางไกล รวมทั้ง ประโยชน์ในแง่ของความคุ้มค่า การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน และการลดปริมาณกระดาษและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการพิมพ์เอกสาร เป็นต้น
ในการนี้ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ร่วมอภิปรายต่อที่ประชุม โดยกล่าวถึงบทบาทของรัฐสภาในฐานะที่เป็นความหวังของประชาชนในการเป็นสถาบันหลักของระบอบประชาธิปไตยที่ปกป้องสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประขาชนที่ถดถอยลงในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีบทบาทสำคัญในการกำกับตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจฉุกเฉินของฝ่ายบริหาร ผ่านกระบวนการของรัฐสภาซึ่งต้องคำนึงถึงความโปร่งใส เปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและประกันค่านิยมหลักของระบอบประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยประกันมิให้มีการใช้อำนาจฉุกเฉินปิดกั้นผู้เห็นต่างหรือใช้อำนาจโดยมิชอบเกินขอบเขตกับกลุ่มผู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชน ประกันเสรีภาพของสื่อมวลชน การกำกับตรวจสอบมาตรการฉุกเฉินทั้งหลายที่ออกมาใช้เกินความจำเป็น ตลอดจนพิทักษ์สิทธิในการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลและมีบทบาทในการใช้ข้อมูลที่เที่ยงตรงต่อสู้กับข่าวบิดเบือนทั้งหลายในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
อนึ่ง การประชุมของคณะกรรมาธิการสามัญของสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 142 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ครั้งต่อไป จะมีขึ้นในวันอังคารที่ 18 พ.ค. 64 โดยจะเป็นการอภิปรายทั่วไปเพื่อเตรียมการยกร่างข้อมติว่าด้วย การออกกฎหมายทั่วโลกเพื่อรับมือการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กในโลกออนไลน์ (Draft resolution on Legislation worldwide to combat online sexual child exploitation) ซึ่งมีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้แทนของรัฐสภาไทย ทำหน้าที่ผู้ร่วมเสนอการประชุม (co-Rapporteur) ร่วมกับสมาชิกรัฐสภาของเนเธอร์แลนด์และเคนยา
เครดิตภาพและข่าวโดย : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|