กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (The IPU Standing Committee on Peace and International Security) ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Interprefy

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 27 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

เมื่อวันที่ 26 เม.ย.64 2564 เวลา 19.00 – 21.30 นาฬิกา (ตามเวลาในประเทศไทย) นายอนุศาสน์  สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 142 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (The IPU Standing Committee on Peace and International Security) ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Interprefy ซึ่งนับเป็นการประชุมนัดแรก ในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 142 ที่จะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2564 การประชุมเริ่มต้นขึ้นโดย Mr. Jose Ignacio Echaniz สมาชิกรัฐสภาสเปน ในฐานะประธานการประชุม ได้ดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมซึ่งมีวาระหลักในการอภิปรายจากมุมมองด้านสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ภายใต้หัวข้อหลักของการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 142 คือ “Overcoming the pandemic today and building a better tomorrow: the role of parliaments” ซึ่งเกี่ยวข้องกับบทบาทของรัฐสภา ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการฟื้นฟูให้ดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ เพื่อนำผลของการอภิปรายนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำปฏิญญาของสมัชชาภายใต้หัวข้อดังกล่าว

จากนั้น ที่ประชุมได้รับชมคลิปวีดิทัศน์แนะนำภารกิจของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) ในฐานะองค์กรพันธมิตรของสหภาพรัฐสภาที่ทำงานด้านการเสริมสร้างสันติภาพและการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากนั้น ที่ประชุมได้รับฟังปาฐกถานำการอภิปรายจาก Mr. Oscar Fernandez Taranco ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติในด้านการเสริมสร้างสันติภาพ (United Nations Assistant Secretary-General for Peacebuilding Support) ซึ่งกล่าวแนะนำสิ่งที่สหประชาชาติให้ความสำคัญ อาทิ สถาปัตยกรรมว่าด้วยการเสริมสร้างสันติภาพ (Peacebuilding Architecture) คณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพ (Peacebuilding Commission) บทบาทสตรีและเยาวชนในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพมุ่งเน้นไปที่ระดับชุมชนและระดับภูมิภาคอันเป็นผลจากการครอบงำของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ และการลงทุนด้านงบประมาณเพื่อกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพและ ผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมกันอภิปราย นำเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน ซิมบับเว แคนาดา เยอรมนี สหราชอาณาจักร อิหร่าน

โอกาสนี้ นายอนุศาสน์  สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ร่วมอภิปรายต่อที่ประชุม ด้วยการนำเสนอกระบวนทัศน์ "ความมั่นคงของมนุษย์" (human security) ที่จะเป็นทางเลือกในการจัดการกับความท้าทายด้านความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในโลกปัจจุบันที่ไม่มีพรมแดน และกระบวนทัศน์ด้านความมั่นคงแบบดั้งเดิมไม่เพียงพอที่จะตอบสนอง โดยผลกระทบของ COVID-19 ส่งผลให้โลกต้องหันมาทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงเสียใหม่ โดยเฉพาะเมื่อ COVID-19 เป็นมากกว่าวิกฤตทางด้านสาธารณสุข แต่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนความมั่นคงในทุกมิติของประชาชนทั่วโลกทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เผยให้เห็นจุดอ่อนของระบบสาธารณสุข ระบบประกันสวัสดิการสังคม ขยายช่องว่างทางสังคม ซึ่งคนยากไร้และคนชายขอบได้รับผลกระทบอย่างมาก จนกลายเป็นวิกฤตของความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทยจึงสนับสนุนให้ใช้แนวคิด “ความมั่นคงของมนุษย์” เป็นทางเลือกเพื่อจัดการภัยคุกคามสมัยใหม่ที่มีความสลับซับซ้อนเหล่านี้และมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติของประชาชน ด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมองไปสู่วิถีการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม การกระชับความร่วมมือพหุภาคีระหว่างประเทศ การส่งเสริมความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนในสังคม การวางยุทธศาสตร์ และการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม ทั้งนี้ รัฐบาลทั้งหลายต่างตระหนักดีว่าวิกฤต COVID-19 ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีทางการทหาร และเห็นพ้องว่าจำเป็นต้องมีการทบทวนการจัดลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณใหม่  ซึ่งแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบสาธารณสุขสำหรับทุกคนที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้ ผ่านระบบการป้องกันโรคที่เข้มแข็ง ตลอดจนการเข้าถึงวัคซีน และการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและทันเวลา นอกจากนี้ ยังเน้นไปที่การสร้างขีดความสามารถของสังคมเพื่อเตรียมความพร้อม ระบบเตือนภัยล่วงหน้า และการเสริมพลังให้ประชาชนด้วยการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่สาธารณชนด้วย

ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มีกำหนดจัดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 โดยมีวาระสำคัญ ได้แก่ การรับรองร่างข้อมติของคณะกรรมาธิการฯ หัวข้อ “Parliamentary strategies to strengthen peace and security against threats and conflicts resulting from climate-related disasters and their consequences” เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชขาในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2564 ตลอดจนการรับทราบแผนการดำเนินงานในอนาคตของคณะกรรมาธิการฯ และการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลงในคณะกรรมาธิการฯ

เครดิตข่าวและภาพ : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th