|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
เวทีสัมมนาสาธารณะ เรื่อง "การออกแบบรัฐธรรมนูญผ่านแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม"
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
|
วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน 2564 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนา ชั้น B1 อาคารรัฐสภา นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเวทีสัมมนาสาธารณะ เรื่อง "การออกแบบรัฐธรรมนูญผ่านแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม" โดยมี ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า กล่าวเปิดการสัมมนา และนายเอ็ดมอนด์ เอเฟนดียา จากสถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยเพื่อการต่างประเทศ (The National Democratic Institute) กล่าวแนะนำวิทยากร ในการนี้ นายสิระ เจนจาคะ ประธานคณะ กมธ. การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน นางผ่องศรี แซ่จึง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร น.ส.โสมอุษา บูรณะเหตุ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และคณะผู้บริหารข้าราชการ ตลอดจนบุคคลในวงงานรัฐสภา เข้าร่วมการสัมมนา
จากนั้นเป็นการบรรยายเรื่อง "การออกแบบรัฐธรรมนูญผ่านแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม" โดยได้รับเกียรติจาก ศ.เดวิด ซี วิลเลี่ยมส์ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยอินเดียนา บลูมมิงตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมกับการออกแบบรัฐธรรมนูญนิยม โดยเป็นการบรรยายผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ สำหรับการสัมมนาดังกล่าว สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าและสถาบันส่งเสริมประชาธิปไตยเพื่อการต่างประเทศจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมและการออกแบบรัฐธรรมนูญในทางทฤษฎี และจากประสบการณ์ในต่างประเทศให้แก่สมาชิกรัฐสภา คณะ กมธ. และบุคลากรในวงงานรัฐสภามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมและการออกแบบรัฐธรรมนูญและนำไปปรับใช้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ ทั้งนี้ แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมเป็นแนวคิดหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและมีการนำมาปรับใช้ในการออกแบบรัฐธรรมนูญเนื่องจากแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมเป็นแนวความคิดที่จะใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเป็นเครื่องมือในการกำหนดรูปแบบการปกครองและกำหนดกลไกอันเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการจัดองค์กรบริหารรัฐ เป็นแนวคิดที่ไม่ได้ยึดติดกับตัวบุคคลเพราะใช้ตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญการออกแบบรัฐธรรมนูญที่ใช้หลักการของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมจึงเป็นการออกแบบรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญต่อตัวบทกฎหมายทำให้กฎหมายมีพลัง และทำให้รัฐธรรมนูญมีความมั่นคงและยั่งยืน โดยการจัดเวทีสัมมนาสาธารณะในครั้งนี้ นับเป็นเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำความรู้จากการจัดเวทีสัมมนาสาธารณะ ไปศึกษาต่อยอด และปรับใช้กับการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยต่อไป |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|