กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง จากเจตจำนงทางการเมืองสู่การบัญญัติเป็นกฎหมาย : หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภูมิภาคแอฟริกาและเอเชีย-แปซิฟิก” (From political will to law: Advancing universal health coverage in Africa and Asia-Pacific)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 3 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 15.00 – 16.30 นาฬิกา (ตามเวลาประเทศไทย) ณ ห้องประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะสมาชิกคณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของสหภาพรัฐสภา (IPU Advisory Group on Health – AGH) และนายเจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกวุฒิสภาและประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง จากเจตจำนงทางการเมืองสู่การบัญญัติเป็นกฎหมาย : หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในภูมิภาคแอฟริกาและเอเชีย-แปซิฟิก” (From political will to law: Advancing universal health coverage in Africa and Asia-Pacific) การประชุมนี้จัดขึ้นในรูปแบบการประชุมเสมือนจริงโดยคณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของสหภาพรัฐสภา (IPU) การประชุมแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 เป็นการบรรยายของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากองค์การอนามัยโลก และช่วงที่ 2 เป็นการเปิดเวทีให้แต่ละประเทศได้นำเสนอประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การถอดบทเรียน และสิ่งท้าทาย โดยผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาและเจ้าหน้าที่รัฐสภาจากภูมิภาคแอฟริกาและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จำนวน 70 คน

ในการนี้ นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะตัวแทนของคณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของ IPU ได้รับเกียรติให้เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม โดยกล่าวถึงการนำข้อมติของสหภาพรัฐสภา เรื่อง “การบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ได้ภายในปี 2573: บทบาทของรัฐสภาในการประกันสิทธิด้านสาธารณสุข” (Achieving universal health coverage by 2030: The role of parliaments in ensuring the right to health) ที่ได้รับการรับรองในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 141 ณ กรุงเบลเกรด สาธารณรัฐเซอร์เบีย ในปี 2562 ไปปฏิบัติอันจะสามารถช่วยปกป้องประชาชนจากภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เช่น การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ พร้อมกันนี้ได้กล่าวถึงการจัดทำรายงานการดำเนินการตามข้อมติดังกล่าวซึ่งรวบรวมโดยสหภาพรัฐสภา โดยยกตัวอย่างของประเทศไทยและแกมเบียที่รัฐสภามีบทบาทตรวจสอบการดำเนินการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-19 หรือในประเทศแถบภูมิภาคแปซิฟิกเช่นไมโครนีเซียที่มีการยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เป็นเป้าหมายหลักของรัฐสภานั่นคือการออกเป็นกฎหมาย การออกกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าประเทศให้ความสำคัญกับความเสมอภาคของประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและราคาไม่แพง นอกจากนี้ กฎหมายจะได้เน้นเรื่องของการใช้ทรัพยากรภาครัฐอย่างเหมาะสมและปราศจากการทุจริต

ในช่วงที่ 2 ของการประชุม ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินการด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UHC) ของประเทศตน นายเจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ได้ร่วมกล่าวอภิปราย โดยนำเสนอความสำเร็จของไทยในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าไทยเป็นประเทศที่สองในโลกที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 แต่ก็สามารถตอบสนองและรับมือได้อย่างรวดเร็ว และมียอดผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเป็นจำนวนน้อย อันเนื่องมาจากการทำงานอย่างเข้มแข็งของรัฐบาล การปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของบุคคลากรทางการแพทย์ในเรื่องความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาด พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกเป็นลำดับต้น ๆ รวมถึง บทบาทของอาสาสมัครระดับท้องถิ่นกว่าล้านคนทั่วประเทศ และความร่วมมือของพี่น้องประชาชนในการปฏิบัติตามคำแนะนำของรัฐ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง และการล้างมือบ่อย ๆ  ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีกฎหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานก่อนการเกิดโรคระบาดนี้ขึ้น แต่ก็เป็นความท้าทายของไทยเช่นกัน ในการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มีความยั่งยืนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง นอกจากนั้น ยังได้มีการจัดสรรวงเงินงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภายในวงเงินประมาณ 198,891 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง แม้ไทยจะเผชิญกับอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคโควิด - 19 ก็ตาม

ในตอนท้าย นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวสรุปส่งท้าย ในฐานะตัวแทนของ AGH ก่อนปิดการประชุมครั้งนี้ว่า “การบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแม้จะมิใช่งานที่ง่าย แต่ก็มิใช่ความฝันที่เกินจะเอื้อมถึง สำหรับประเทศไทยแล้ว ระบบการดูแลสุขภาพถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนโดยไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง หรือสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม เมื่อแรกเริ่มที่ประเทศไทยซึ่งถือเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานลางได้เริ่มนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาใช้ก็อยู่ในช่วงภาวะถดถอยของเศรษฐกิจ แม้จะยังไม่สมบูรณ์แบบนักในช่วงแรก ๆ แต่ก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืน จนในปัจจุบันการลงทุนดังกล่าวได้เกิดเป็นผลสำเร็จเมื่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยสามารถครอบคลุมการให้บริการด้านสาธารณสุขในส่วนที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งการให้การรักษาฟรีนี้ยังครอบคลุมไปถึงชาวต่างชาติที่ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศอีกด้วย ดังนั้น การเสริมสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เข้มแข็งไม่เพียงแต่จะช่วยเตรียมความพร้อมเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดที่อาจจะอุบัติขึ้นในอนาคตเท่านั้น แต่ยังเป็นการขับเคลื่อนวาระเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2573 ด้วย ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่ดีและบทเรียนของแต่ละประเทศในเรื่องกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในวันนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้หลายประเทศลงทุนในระบบสุขภาพเพิ่มมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19 และสร้างความมั่นคงทางสุขภาพให้กับทุกคนทั่วโลก”
 
เครดิต : ภาพและข่าวโดย กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th