|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมประชุมเครือข่ายรัฐสภาโลกขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ (OECD Global Parliamentary Network Meeting) ในหัวข้อ การฟื้นตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง (A Transformative Recovery)
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564
|
เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 64 เวลา 19.30 20.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมประชุมเครือข่ายรัฐสภาโลกขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD Global Parliamentary Network Meeting) ในหัวข้อ การฟื้นตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง (A Transformative Recovery) ตามคำเชิญของนางสาว Silvana Koch-Mehrin ประธานองค์กรผู้นำสตรีทางการเมือง (Women Political Leaders - WPL) ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนาย Anthony Gooch ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ OECD (Director of Public Affairs and Communications, OECD) เป็นประธานการประชุมสำหรับการประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยเครือข่ายรัฐสภาโลกขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for EconomicCo-operation and Development) ร่วมกับสมัชชารัฐสภาขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO Parliamentary Assembly) และองค์การผู้นำสตรีทางการเมือง (Women Political Leaders: WPL) เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างการฟื้นตัวด้านเศรษฐกิจ และสุขภาพอย่างเข้มแข็งและเป็นธรรมภายหลังวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในช่วงการเสวนากับนาย Angel Gurría เลขาธิการ OECD ในหัวข้อ การสร้างฉันทามติใหม่เพื่อความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Forging a New Consensus for Economic, Social and Environmental Progress) นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และมาตรการในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประเทศไทย อาทิการประกาศใช้พระราชกำหนด 3 ฉบับ เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินในการแก้ไขปัญหา เยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ช่วยเหลือผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบ และรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าปัจจัยของความสำเร็จในการสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ในประเทศไทย คือ ความมีวินัยของประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรค รวมไปถึงระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งมีจำนวนประมาณ 1,050,000 คน กระจายตัวอยู่ในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศทำหน้าที่สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหมู่บ้าน เฝ้าระวังป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน และตรวจค้นหาเชิงรุกผู้มีแนวโน้มจะติดเชื้อเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง
ในการนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ได้ตั้งคำถามไปยัง OECD เกี่ยวกับมาตรการและแนวทางของประชาคมระหว่างประเทศในการผลิตและแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ประชาชนทุกคนอย่างเพียงพอ รวมถึงข้อเสนอแนะแนวทางของ OECD ในการบริหารจัดการ กระตุ้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดครั้งนี้
ทั้งนี้ เลขาธิการ OECD ได้ชื่นชมความสำเร็จของประเทศไทย พร้อมกล่าวเสริมว่าระบบอาสาสมัครแสดงถึงภาคประชา สังคมที่เข้มแข็ง นอกจากนี้การมีวินัยของประชาชน ประกอบกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของภาครัฐเป็นเรื่อง สำคัญอย่างยิ่ง
เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|