กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอภิปรายออนไลน์ในหัวข้อ “การยุติความรุนแรงต่อสตรีทางการเมือง” (Eliminating Violence against Women in Politics)”

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 26 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2563

        เมื่อวันพุธที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๒๑.๐๐ – ๒๒.๓๐ นาฬิกา 
นางสุวรรณี  สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมาธิการสหภาพ
รัฐสภาสตรี ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอภิปรายออนไลน์ในหัวข้อ 
“การยุติความรุนแรงต่อสตรีทางการเมือง” (Eliminating Violence against 
Women in Politics)” ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิโคฟี อันนัน ร่วมกับสหภาพรัฐสภา 
ในโอกาสวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (International Day for the 
Elimination of Violence against Women) โดยคณะผู้อภิปราย ประกอบด้วย 
Ms.Carmen Alanis อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเลือกตั้งแห่งชาติเม็กซิโก
 (Mexico Electoral Tribunal) Ms. Anita Bhatia รองผู้อำนวยการบริหาร
องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) Mr.Martin Chungong 
เลขาธิการสหภาพรัฐสภา และ Ms.Hilary Gbedemah ประธานคณะกรรมการ
ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (CEDAW) โดยมี Ms.Corinne 
Momal-Vanian กรรมการบริหารมูลนิธิโคฟี อันนัน ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ 
สำหรับกิจกรรมการอภิปรายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการตอบสนอง
ทางนโยบายที่ประสบความสำเร็จและส่งเสริมการนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ 
โดยคณะผู้อภิปรายได้กล่าวถึงบทบาทที่สำคัญของรัฐสภาในการผ่านกฎหมาย
เพื่อผลักดันการยุติความรุนแรงต่อสตรีทางการเมือง รวมถึงการทำให้รัฐสภา
เป็น Gender-sensitive parliament เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่สังคม รัฐสภาควร
จัดตั้งกลไกและสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นความลับต่อสตรีในการ
ร้องเรียนกรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้น สมาชิกรัฐสภาทั้งชายและหญิงต้องร่วมมือกัน
ในการยุติความรุนแรงต่อสตรีทางการเมือง รวมทั้งยังมีความจำเป็นต้องจัดเก็บสถิติ 
และจำนวนกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงต่อสตรีทางการเมือง และให้สตรีได้เข้าถึง
ความยุติธรรม นอกจากนี้ ผู้ร่วมอภิปรายได้กล่าวถึงหนึ่งในสาเหตุสำคัญในการ
ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงในด้านต่าง ๆ ต่อสตรี คือ การขาดความเคารพในหลัก
ความเท่าเทียม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการ
ทำงานร่วมกันเพื่อขจัดปัญหานี้ โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมตอบแบบสำรวจ
ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการหยุดการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในการเมืองที่มี
ประสิทธิภาพ ซึ่งร้อยละ ๓๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้เห็นว่าควรมีการดำเนินการ
ทางกฎหมายอย่างเป็นทางการเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อสตรีทางการเมือง
ในการนี้ นางสุวรรณี  สิริเวชชะพันธ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านการส่งข้อความ 
(Event Chat) โดยได้แสดงความขอบคุณในการจัดกิจกรรมออนไลน์ครั้งนี้ซึ่งมีหัวข้อ
การอภิปรายที่น่าสนใจและคณะผู้อภิปรายที่ได้ให้ความรู้อย่างดียิ่ง

เครดิต : ภาพและข่าวโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ 
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th