กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี เข้าร่วมการประชุมสหภาพ รัฐสภาสตรี ครั้งที่ ๒๙ ณ ห้อง Al Rayyan ศูนย์ประชุมเชอราตัน กรุงโดฮา รัฐกาตาร์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 7 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2562

      เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๓๐ - ๑๓.๐๐ นาฬิกา

นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ

กรรมาธิการสหภาพรัฐสภาสตรี นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล และ

พล.อ.วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วม

การประชุมสหภาพรัฐสภาสตรี ครั้งที่ ๒๙ (The 29th Session of

Forum of Women Parliamentarians) ณ ห้อง Al Rayyan

ศูนย์ประชุมเชอราตัน กรุงโดฮา รัฐกาตาร์

      ในการนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ ได้ร่วมอภิปรายในมุมมอง

หญิงชายต่อร่างข้อมติของคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วย

การพัฒนาที่ยั่งยืนการคลังและการค้า เรื่อง “บทบาทของการค้าและ

การลงทุนที่เป็นธรรมและเปิดเสรีในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน"

โดยเฉพาะในด้านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน

การพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่ยั่งยืนว่า “เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียม

ในมิติหญิงชายในภาคการค้าและการลงทุนที่ผู้หญิงจะเข้ามามีส่วนร่วม

มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันภาคการค้าและการลงทุนมักมีผู้ชายเป็นหลัก

โดยขอเสนอ ๖ วิธีการที่จะส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม และทำให้ผู้หญิง

เข้ามามีส่วนร่วมในภาคการค้าและการลงทุนมากขึ้น (Fairtrade) ดังนี้

๑. การกำหนดมาตรฐานที่ไม่ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติมาตรฐานของ

การค้าที่เป็นธรรมจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์พื้นฐานของระบบทางการค้า

โดยมาตรฐานดังกล่าวควรสร้างกระบวนการตัดสินใจแบบประชาธิปไตย          

ที่สนับสนุนสตรีให้สตรีมีสิทธิมีเสียงในชุมชนหรือที่ทำงาน

๒. การฝึกให้สตรีเป็นผู้นำ ให้มีการอบรมและพัฒนาโดยให้สตรีได้ทำงาน

ในองค์กรการค้า และสร้างสตรีให้มีทักษะทางด้านธุรกิจการเงิน การเจรจา

และการตัดสินใจ

๓. ให้มีหลักประกันการลงทุนเริ่มแรกในระดับท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนโครงการ

ของสตรี

๔. การที่บทบาทของสตรีในด้านการเกษตรมีมากขึ้นแต่สตรีกลับเข้าถึง

ทรัพยากรการผลิตได้น้อยลงการค้าที่เป็นธรรมจะช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่าง

ระหว่างเพศนี้ได้โดยการทำให้สตรีเป็นเจ้าของทรัพยากรเพื่อดำเนินการ

ในภาคการเกษตรได้

๕. การค้าที่เป็นธรรมจะช่วยเลิกล้มความคิดแบบเหมารวมของคำว่า

“งานของสตรี” รวมถึงความคิดในแบบเดิม ๆ ที่ไม่ให้สตรีมีสิทธิในทรัพย์สิน

และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องที่เกี่ยวกับชุมชนของตน

๖. การพัฒนาการเข้าร่วมเพื่อทำให้ความไม่เท่าเทียมหมดไปโดยมีความเป็น

ธรรมในการค้ามีการทำงานร่วมกับภาคผู้ผลิตองค์กรภาคการค้าองค์กร

ภาคการพาณิชย์องค์กรภาคสังคมและนักวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดัน

สิทธิของคนงาน การส่งเสริมอำนาจและสิทธิทางเศรษฐกิจให้แก่สตรีจะช่วย

ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้หลายเป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่

๑, ๘, ๙ และเป้าหมายที่ ๑๖ อีกด้วย


เครดิต : ภาพและข่าวโดย สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร



download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th