กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การประชุมย่อย (side-event) หัวข้อ “มวลเหตุปัจจัยที่มีผลต่อความเท่าเทียมระหว่างเพศ: สตรีในตำแหน่งที่มีอำนาจตัดสินใจเพื่อทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง” (Side event on Critical Mass to Gender Parity: Women in Decision-Making Do Make a Difference!)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 18 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2562

วันจันทร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๐๐ น. ตามเวลาท้องถิ่น
นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทน 
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมย่อย (side-event)
หัวข้อ “มวลเหตุปัจจัยที่มีผลต่อความเท่าเทียมระหว่างเพศ : สตรีในตำแหน่งที่มีอำนาจ
ตัดสินใจเพื่อทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง” (Side event on Critical Mass to Gender
 Parity: Women in Decision-Making Do Make a Difference!) จัดโดย คณะผู้แทน
ถาวรสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก the League of Women Voters และองค์การ
เพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังอำนาจของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ
(UN Women) ณ เอ็กซ์เพรสบาร์ อาคารสมัชชาใหญ่ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ
นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาที่ประชุมอภิปรายถึงจำนวนของสตรีที่อยู่ในตำแหน่ง
ที่มีอำนาจตัดสินใจโดยเฉพาะตำแหน่งในรัฐสภาซึ่งผู้นำการอภิปรายส่วนใหญ่เห็นว่า
ควรได้มีการนำระบบโควตามาใช้เพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกรัฐสภาสตรีโดยผู้ร่วมอภิปราย
ได้นำเสนอตัวอย่างของประเทศต่างๆ ในประเด็นนี้ นางสุวรรณี ได้แลกเปลี่ยน
ข้อคิดเห็นกับที่ประชุมว่า การนำระบบโควตามาใช้อาจจำเป็นต้องพิจารณา
ถึงบริบททางสังคมของประเทศต่าง ๆ

นอกจากนี้ นางสุวรรณียังได้ยกประเด็นเรื่องจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
ในประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง หากจำนวนสมาชิกรัฐสภายังมีน้อยจึงเสนอให้ UN
Women และ IPU อาจทำการวิจัยและศึกษาในเชิงลึกให้ครอบคลุมทุกประเทศ
ว่าเหตุใดยังมีผู้หญิงลงสมัครรับเลือกตั้งน้อยและผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งไม่เลือกผู้สมัคร
ที่เป็นผู้หญิง

จากนั้น ในเวลา ๑๖.๑๕ น. มีการประชุมย่อย (side-event) หัวข้อ “สตรีกับการเมือง”
(Women in Politics) ที่ประชุมอภิปรายถึงจำนวนสตรีที่เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต
การก้าวเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของผู้หญิงอาจเป็นข้อท้าทายความคิด
แบบเหมารวมที่มีต่อผู้หญิงในอดีต การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักการเมืองที่เป็น
ผู้หญิงจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยทั้งนี้ การทำงาน
ร่วมกันทางการเมืองของผู้หญิงและผู้ชายจะเป็นการนำศักยภาพของทั้งสองฝ่าย
มาเสริมซึ่งกันและกัน

เครดิต : ภาพและข่าว โดย สำนักองค์การรัฐสภาระหว่าง
ประเทศสำนักงานเลขาธิการ

 

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th