กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
กิจกรรม"การวางแผนกลยุทธ์ด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์การประชุมภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภาอาเซียน(AIPA) ในปี ๒๕๖๒" เป็นวันที่ ๒

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2562

วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐น. ณ ห้องกมลทิพย์ ๓
ชั้น ๒ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นวันที่ ๒ ของการจัดกิจกรรม
"การวางแผนกลยุทธ์ด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์
การประชุมภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ในปี ๒๕๖๒"
ในโครงการการพัฒนา ความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๒
นางสาวมันทนา  ศรีเพ็ญประภา  ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตย
และกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร สำนักประชาสัมพันธ์ สํานักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะทำงานสารัตถะด้านสื่อสารมวลชน
และการประชาสัมพันธ์การประชุมรัฐสภาอาเซียนในปี ๒๕๖๒
บรรยายเรื่อง"ความร่วมมือระหว่างนักสื่อสารองค์กรและสื่อสารมวลชน
ในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประชุมภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภาอาเซียน"
โดยได้กล่าวว่า  นักสื่อสารมวลชนมีหน้าที่สื่อสารทำความเข้าใจกับสื่อมวลชน
กับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ นักสื่อสารมวลชนยังมีหน้าที่ในการวางแผนกลยุทธ์และการสร้างความสัมพันธ์
กับบุคคลในองค์กรเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจภายในองค์กรเพื่อให้คนในองค์การ
สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อขององค์กรได้
 
จากนั้น ในเวลา ๐๙.๓๐ น. เป็นการระดมความคิดเห็น เรื่อง "การวางแผนกลยุทธ์
ด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์การประชุมภายใต้กรอบสมัชชา
รัฐสภาอาเซียนในปี ๒๕๖๒ โดยได้แบ่งกลุ่มระดมความคิด
โดยแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ ๑ การกำหนดสารัตถะด้านสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์
การประชุมภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภาอาเซียนในปี ๒๕๖๒ วิทยากร
โดยผศ.ดร.ปิติ  ศรีแสงนามและทีมงาน

กลุ่มที่ ๒ การใช้สื่อใหม่และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์
การประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซียนในปี ๒๕๖๒วิทยากรโดย
นายอโณทัย  อุดมศิลป์  อดีตผู้อำนวยการ สถาบันวิชาการสื่อสารสาธารณะ
TPBS และผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์

กลุ่มที่ ๓ สื่อมวลชนสัมพันธ์และการกำหนดรูปแบบการแถลงข่าว
การประสานงานการให้ข้อมูลแก่ผู้สื่อข่าวในประเทศและต่างประเทศ
วิทยากรโดย นายณัฐภาณุ  นพคุณ รองอธิบดี กรมสารนิเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ และนางสาวปิยะภรณ์  วงศ์เรือง บรรณาธิการข่าว
สุดสัปดาห์ นสพ. The nation

กลุ่มที่ ๔ สื่อมวลชนกับบทบาทในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน
และการสนับสนุนให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางวิทยากรโดย
ดร.เจษฎา  ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการ
สื่อสารมวลชนคณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในโอกาสนี้ นางสาวสุภาสินี  ขมะสุนทร  รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ได้มอบของที่ระลึกเพื่อแสดงความขอบคุณแก่วิทยากร

สำหรับในภาคบ่ายเป็นการถกแถลงผลการระดมความคิดเห็น

กลุ่มที่ ๑ การกำหนดสารัตถะด้านสื่อสารมวลชน
และการประชาสัมพันธ์การประชุมภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภา
อาเซียนในปี ๒๕๖๒ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ระดมความคิดเห็น
สรุปได้ ดังนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้หารือถึงกรอบการประชุมภายใต้
การประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน
ทั้ง ๓ การประชุม คือ การประชุมคณะมนตรีที่ปรึกษาของสมัชชารัฐสภาอาเซียน
ว่าด้วยยาเสพติดอันตราย หรือ AIPACODD โดยกำหนดแนวทาง
การนำเสนอสารัตถะโดยเน้นถึงความร่วมมือ ผลการศึกษาดูงานแนวทางการพัฒนา
ที่ยั่งยืน การปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกสิ่งเสพติดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

นอกจากนี้ ในการประชุมระหว่างสุดยอดผู้นำอาเซียนกับคณะผู้แทน
สมัชชารัฐสภาอาเซียน มีความเห็นว่า นักสื่อสารมวลชนต้องเกาะติดสถานการณ์
และสร้างความเชื่อมโยงในด้านกฎหมายเพื่อไปสู่การปฏิบัติ
อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการประชุมภายใต้กรอบของสมัชชารัฐสภา
อาเซียนนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม
คือ สมาชิกรัฐสภา สื่อมวลชน และประชาชน ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องใช้เทคนิค
ช่องทางที่แตกต่างกัน แม้จะมีเนื้อหาเดียวกันก็ตาม เช่น ร่างข้อมติ
ว่าด้วยการสนับสนุนการพัฒนาอย่างเท่าเทียมในอาเซียน นักสื่อสารมวลชน
ต้องพิจารณาบริบทของความเท่าเทียมที่มีหลายมิติ ซึ่งหัวใจสำคัญ
ของกลุ่มนี้ คือ การศึกษาเนื้อหาให้เข้าใจก่อนจะสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
เพื่อให้เนื้อหาถูกต้อง ชัดเจน และเป็นสารที่กลุ่มเป้าหมาย
ต้องการรับฟัง ไม่ใช่การยัดเยียด

กลุ่มที่ ๒ การใช้สื่อใหม่และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์
การประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซียนในปี ๒๕๖๒โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา
ได้ระดมความคิดเห็น สรุปได้ ดังนี้เนื้อหาคือสิ่งที่ต้องนำมาสังเคราะห์
ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้รับสารและปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับสื่อ
โดยไม่ต้องทิ้งสื่อเดิมแต่มีการนำสื่อใหม่และนวัตกรรมเข้ามาใช้
เพื่อสร้างรูปแบบของเนื้อหาให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้รับสาร
และสื่อโดยคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเลือกเปิดรับข่าวสาร
รูปแบบของเนื้อหา(Content)มีความเหมาะสมกับช่องทางการสื่อสาร
เพื่อประสิทธิภาพของการสื่อสารและเกิดผลสำเร็จในการสื่อสาร

กลุ่มที่ ๓ สื่อมวลชนสัมพันธ์และการกำหนดรูปแบบการแถลงข่าว
การประสานงาน การให้ข้อมูลแก่ผู้สื่อข่าวในประเทศโดยผู้เข้าร่วมสัมมนา
ได้ระดมความคิดเห็นสรุปได้ ดังนี้ด้านสื่อมวลชนสัมพันธ์นั้น สิ่งสำคัญคือ
การทำฐานข้อมูลสื่อให้เป็นปัจจุบันและจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์
กับสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพบปะพูดคุย การนำสื่อมวลชน
ศึกษาดูงานในพื้นที่จัดการประชุม และการสร้างเครือข่าย
กับสื่อมวลชนต่างประเทศ สำหรับการให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนนั้น
อาจจัด Pre meeting ให้สื่อมวลชนได้ทราบข้อมูลเบื้องต้น
โดยนำเสนอประเด็นที่ประชาชนสนใจ การจัดทำ E-Books
และการเชิญสื่อมวลชนจากประเทศอาเซียนเข้าร่วมทำข่าว
การจัดตั้งศูนย์ข่าวการประชุมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่สื่อมวลชน
การจัดตั้งทีมโฆษก การจัดแถลงข่าวในพื้นที่จัดประชุม
กรณีจัดประชุมในต่างจังหวัด รวมทั้งการเชิญประชาชน
ในพื้นที่ร่วมพูดคุยในงานแถลงข่าว และอาจจัดแถลงข่าว
ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เพื่อสร้างพันธมิตร
ด้านการข่าวและเข้าถึงสื่อต่างประเทศได้โดยตรง
ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมควรจัดขอบคุณสื่อมวลชนอย่างไม่เป็นทางการ
เพื่อสรุปผลสำเร็จของการประชุมให้สื่อมวลชนเผยแพร่ต่อไป

กลุ่มที่ ๔ สื่อมวลชนกับบทบาทในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน
และการสนับสนุนให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เข้าร่วมสัมมนา
ได้ระดมความคิดเห็นสรุปได้ ดังนี้ในการเผยแพร่
ข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนต้องให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง
ครบถ้วน แม่นยำ ต้องทำให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง
ของการขับเคลื่อนอาเซียน โดยจัดทำรูปแบบของสื่อ ให้รองรับการสื่อสารสองทาง
และสร้างการปฎิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยเฉพาะ
สื่อสังคมออนไลน์ ให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ และตื่นตัวในการเข้ามา
มีส่วนรวมขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนได้อย่างแท้จริง

โดยในช่วงท้ายของกิจกรรรมเป็นการสรุปการถกแถลง
กลยุทธ์ด้านสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์การประชุมภายใต้กรอบ
สมัชชารัฐสภาอาเซียนในปี ๒๕๖๒ โดย นางสาวสุภาสินี  ขมะสุนทร
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ ดร.เจษฎา  ศาลาทอง จากคณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th