กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการการพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ กิจกรรม "การวางแผนกลยุทธ์ด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์การประชุมภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ในปี

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 28 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2562

      วันพุธที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องกมลทิพย์ ๓ ชั้น ๒

โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ นางสาวสุภาสินี  ขมะสุนทร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการการพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ กิจกรรม "การวางแผนกลยุทธ์ด้านการสื่อสารมวลชนและ

การประชาสัมพันธ์การประชุมภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ในปี ๒๕๖๒" โดยมี

Mr. Georg Gafron ผู้แทนมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประจำประเทศไทย กล่าวต้อนรับ และ

นางจงเดือน  สุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ กล่าวรายงาน สำหรับโครงการดังกล่าว

จัดโดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประจำประเทศไทย

       Mr. Georg Gafron ผู้แทนมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เวทีสำคัญ

ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซียนของประเทศไทยทั้งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน การเป็น

เจ้าภาพการประชุมภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภาอาเซียน รัฐสภาในฐานะเป็นเจ้าภาพการประชุมต้อง

ทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะสื่อมวลชน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ข่าวถูกเผยแพร่

ไปถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางสิ่งสำคัญที่สุด คือ การทำให้สื่อมวลชนสนใจและให้พื้นที่ในการ

นำเสนอข่าว และทำให้ประชาชนคนไทยมีความรู้สึกมีส่วนร่วมในการที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ

จัดการประชุม

       จากนั้น นางสาวสุภาสินี ขมะสุนทร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวขอบคุณ ผู้แทน

มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประจำประเทศไทย และบรรยายพิเศษในหัวข้อ "บทบาทสมัชชารัฐสภา

อาเซียนในการขับเคลื่อนอาเซียน" โดยได้กล่าวโดยสรุปว่า ประเทศไทยต้องต่อสู้เพื่อหาพื้นที่ข่าว

ในต่างประเทศ เพื่อให้สื่อต่างประเทศ เผยแพร่เรื่องราวในประเทศไทยเผยแพร่สู่สาธารณะ เนื้อหา

มีความสำคัญที่จะทำให้สื่อมวลชนสนใจ และแสวงหาข้อมูลข่าวสาร สิ่งสำคัญที่คนทำงาน

ด้านประชาสัมพันธ์ต้องทำให้ได้ คือ การเชื่อมโยงให้เห็นว่ารัฐสภามีความเกี่ยวข้องกับอาเซียนอย่างไร

บทบาทของรัฐสภาต่ออาเซียนในมิติต่าง ๆ เพื่อการเป็นประชาคมอาเซียนที่มีความยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใคร

ไว้ข้างหลัง มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผู้ที่ทำงานด้านประชาสัมพันธ์ต้องมีวิธีการในการจับประเด็น

การถ่ายทอดเนื้อหาให้มีความน่าสนใจ เพื่อให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าว ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ

และสนใจ เพื่อบรรลุเป้าหมายของการเป็นประชาคมอาเซียน

      รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ยังได้กล่าวถึงแนวคิดหลักการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน

ครั้งที่ ๔๐ ภายใต้แนวคิด “นิติบัญญัติ ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล เพื่อประชาคมที่ยั่งยืน” “Advancing

Parliamentary Partnership for Sustainable Community” นักประชาสัมพันธ์ต้องนำแนวคิด

ดังกล่าวไปจัดทำเนื้อหา เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้กับประชาชน รวมถึงร่างมติต่าง ๆ ที่จะถูกหยิบ

ยกมาพิจารณาภายใต้กรอบการประชุมที่จะเกิดขึ้นตลอดปี ๒๕๖๒ นี้

      ในภาคบ่าย เป็นการเสวนาเรื่อง “กลยุทธ์ด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์

ในการประชุมระหว่างประเทศ” โดยวิทยากร ประกอบด้วย

      - นายกอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตเอกอัครราชทูต กระทรวงการต่างประเทศ

      - นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

      - ผศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ศูนย์อาเซียนศึกษา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      - นางสาววัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น หัวหน้ากองข่าวต่างประเทศ ฝ่ายข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวไทย

      ดำเนินรายการโดย นายสถาปัตย์ แพทอง ผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี


      นายกอบศักดิ์  ชุติกุล กล่าวถึงกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ โดยแบ่งออกเป็น ๔

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

         ๑. ข้าราชการ

         ๒. ประชาชน

         ๓. ประเทศในอาเซียน

         ๔. รัฐสภาอาเซียน

         ซึ่งการสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้น หัวข้อการประชุมต้องเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และ

สามารถสร้างความสนใจ รวมทั้งให้ประชาชนเข้าถึงได้ โดยยกตัวอย่างการจัดให้มี 10 AIPA Citizens

Award เพื่อเป็นรางวัลให้บุคคลประเทศอาเซียนที่เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศนั้น ๆ หรือการเชิญบุคคล

สำคัญที่โลกให้ความสนใจ   มาในเวที AIPA เพื่อดึงดูดความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชน รวมทั้ง

การนำปัญหาที่ประเทศอาเซียนประสบร่วมกันมาพูดคุยในเวทีนี้


          นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ กล่าวว่า ในฐานะที่ไทยเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ เราได้ประกาศ

แนวคิดหลักไว้ คือ "Advancing Partnership for Sustainability" หรือ ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล

ยั่งยืน" ดังนั้น ต้องมาศึกษาดูว่าแผนการประชุมตลอดทั้งปีมีกี่การประชุม แล้วจึงวางแผน

การประชาสัมพันธ์ว่าควรจะเป็นไปในทิศทางใด เพื่อให้การนำส่งสารเกี่ยวกับการประชุมเข้าถึง

ประชาชนได้มากที่สุด ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักไว้ ๓ กลุ่ม ได้แก่

        กลุ่มที่ ๑ คือ คนรุ่นใหม่ คนเมือง หรือคนที่เข้าใจเรื่องของอาเซียนเป็นอย่างดี

        กลุ่มที่ ๒ คือ กลุ่มประชาชนต่างจังหวัดว่าเขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการประชุมครั้งนี้ และ

จะสร้างโอกาสให้เขามีส่วนร่วมได้อย่างไร

        กลุ่มที่ ๓ คือ เยาวชน ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และมีส่วนร่วมได้อย่างเหมาะสม


        ผศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสาร คือ ผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร

และช่องทางการสื่อสาร

       ๑. บุคคลที่จะสื่อสารเรื่องอาเซียน ต้องเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการสื่อสาร มีความน่าเชื่อถือ

และมีความรู้จริง เพื่อจะสื่อสารในเรื่องอาเซียนได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือได้

       ๒. สาร ที่จะสื่อสารต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ และปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มผู้รับสารโดยปรับ

เนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้รับสารที่มีความหลากหลาย

       ๓. สื่อกลางในการสื่อสาร ปัจจุบันมีมากขึ้น ผู้ส่งสารจำเป็นต้องเลือกสื่อกลางให้เหมาะสม เพื่อเป็น

ช่องทางนำสารไปถึงกลุ่มผู้รับสาร ทั้งนี้ การสื่อสารเกี่ยวกับอาเซียน ต้องพยายามทำให้สารถูกส่งไปถึง

ผู้รับสารให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด ข้อความที่จะสื่อสารออกไปต้องออกแบบให้ดี

มีความหมายทั้งในบรรทัดและระหว่างบรรทัดแสดงถึงความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพ

จัดการประชุม และ  สิ่งที่เราจะได้รับหลังจากการประชุมเหล่านี้


      นางสาววัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น กล่าวในฐานะสื่อมวลชนว่า พฤติกรรมผู้รับสารเปลี่ยนแปลงไป

สื่อเดิมได้รับความนิยมลดลง อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาอิทธิพลในการเลือกรับสารมากขึ้น 

ผู้รับสารนิยมบริโภคสื่อ    ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ไลน์ มากขึ้น ในฐานะสื่อมวลชนต้องหาวิธีที่จะทำ

ให้สารส่งไปถึงผู้รับสารได้อย่างครบถ้วน และทำอย่างไรให้ผู้รับสารสามารถรับสื่อได้ทุกช่องทาง 

โดยไม่ยัดเยียดสารให้ผู้รับสารมากเกินไป กลุ่มคนที่ควรให้ความสำคัญในการส่งสารคือ กลุ่มคนที่มี

ความรู้น้อย จึงควรส่งสารไปยังกลุ่มนี้เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและต้องทำให้คนกลุ่มนี้สามารถ

เข้าถึงสื่อและสาร ได้อย่างง่ายในวิถีที่เขารับได้โดยไม่รู้สึกเบื่อ

       ในโอกาสนี้ นางสาวสุภาสินี ขมะสุนทร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้มอบของที่ระลึก

เพื่อแสดงความขอบคุณแก่วิทยากรและผู้ดำเนินการเสวนา



download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th