กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การบรรยายเรื่อง “ความเป็นพลเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย”ซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน ประจำปี ๒๕๖๒

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2562

วันอังคารที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ โรงแรมสินเกียรติบุรี อ.เมือง จ.สตูล
นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง
สถาบันพระปกเกล้าเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง "ความเป็นพลเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย”
ซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการรัฐสภาสัญจรเพื่อเด็กและเยาวชน ประจำปี ๒๕๖๒
โดยได้แบ่งการบรรยายเป็นสองช่วง ช่วงแรก เป็นการอธิบายภาพรวม
และสร้างความเข้าใจร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ อาทิ 
ประเด็นมนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความเป็นพลเมือง แต่พลเมืองเกี่ยวข้องกับทุกคน 
ประเด็นแนวทางการสร้างสำนึกพลเมือง ความแตกต่างระหว่างคำว่า “ปลูก” กับ “ปลุก”
จิตสำนึกการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และการกระทำเพื่อเป็นพลเมือง โดยใช้กระบวนการ
เทคนิค และวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัย เข้าใจง่าย ทั้งสื่อวีดิทัศน์ การเล่นเกมส์
ตอบคำถาม ทั้งปัญหาเชาวน์ ปัญหาสถานการณ์ของโลก ให้เยาวชน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกคิด ยกตัวอย่างสภาพการณ์ของการประสบภัย
ในต่างประเทศ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศและเปิดโอกาสให้
เยาวชนได้ระดมความคิดเห็นอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การแสดงความคิดเห็น
ในการสร้างจิตสำนึกการประชุมสัมมนา การวิเคราะห์สถานการณ์ โดยใช้
หลักประชาธิปไตยซึ่งเยาวชนได้รับทั้งความรู้และความสนุกสนาน 
 
นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง การแสดงออกของพฤติกรรมที่สะท้อนถึงจิตสำนึก
ซึ่งจิตสำนึกเป็นจิตใจที่อยู่ในระดับเหตุและผล สิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ มักทำในสิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึก กล่าวคือ มีความรู้สึกทั้งเรื่องดี
และเรื่องไม่ดี ทั้งนี้ ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้กระตุ้นให้เยาวชน
เน้นการคิดนอกกรอบ แต่การคิดนั้นต้องเป็นเหตุผลและเป็นที่
ยอมรับได้ในวิถีประชาธิปไตยสำหรับในช่วงที่สอง ได้อธิบายถึงคำจำกัด
ความของราษฎร พลเมือง และพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยใช้สื่อ
และยกตัวอย่างให้เยาวชนเข้าใจคำจำกัดความนั้นได้อย่างถูกต้อง
ตลอดจนเชื่อมโยงการเป็นพลเมืองไทยสู่พลเมืองอาเซียน และพลเมืองโลกที่ดี
จากนั้น เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ตามฐาน จำนวน ๖ ฐาน โดยวิทยากรของสำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และยุวชนประชาธิปไตยภาคใต้ และได้แบ่งการเรียนรู้
ออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑. ฐานการเรียนรู้ประเภทวิชาการประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
ในเรื่องการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทย การเป็น
พลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนการมีส่วนร่วมของเยาวชน
ในกระบวนการเลือกตั้ง และการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมภายใต้กรอบสมัชชารัฐสภา
อาเซียนของประเทศไทย ในปี ๒๕๖๒
๒. ฐานประเภทผ่อนคลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนได้ร่วมกัน
ทำงานเป็นทีม เป็นการส่งเสริมให้เกิดความรัก ความสามัคคี
โดยใช้เกมส์ที่กำหนดไว้เป็นสื่อกลาง

จากนั้น วิทยากรได้สรุปองค์ความรู้ในแต่ละฐานเพื่อให้ผู้เข้าร่วม
กิจกรรมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันตามวิถีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นไป
ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th