กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
ประชุมภาครัฐสภาในโอกาสการรับรองข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัยเป็นระเบียบ และปกติ ณ อาคารรัฐสภาโมร็อกโก กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 7 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561

        เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๑ คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

นำโดย นายกิตติ วะสีนนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการการเมือง คนที่หนึ่ง พร้อมด้วย

นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ และนายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ได้เข้าร่วมการประชุมภาครัฐสภาในโอกาสการรับรองข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วย

การโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัยเป็นระเบียบ และปกติ (Parliamentary Conference on

occasion of the Adoption of the Global Compact for Safe, Orderly and Regular

Migration) ซึ่งจัดโดยสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union หรือ IPU) ร่วมกับ

รัฐสภาโมร็อกโก ณ อาคารรัฐสภาโมร็อกโก กรุงราบัต ราชอาณาจักรโมร็อกโก

         ในเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เข้าร่วม

พิธีเปิดการประชุม โดยมีนาย Habib El Malki ประธานสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโก

นาย  Hakim Benchamach ประธานวุฒิสภาโมร็อกโก และนางสาว Gabriela

Cuevas Barron ประธานสหภาพรัฐสภา ร่วมกล่าวเปิดการประชุม

        จากนั้น เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา คณะผู้แทนฯ เข้าร่วมการประชุมช่วงที่ ๑ ภายใต้

หัวข้อ "การวิเคราะห์ภาพรวมของการโยกย้ายถิ่นฐานในระดับโลก" (Analysis of the

migration landscape in the world)  โดยที่ประชุมฯ ได้ร่วมรับฟังการบรรยาย

ากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการเกี่ยวกับสถานการณ์การโยกย้ายถิ่นฐานที่ถือเป็น

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก   ต่อมา เวลา ๑๔.๐๐นาฬิกา คณะผู้แทนฯ เข้าร่วม

การประชุม ช่วงที่ ๒ ภายใต้หัวข้อ "แนวทางสำหรับสมาชิกรัฐสภาในการดำเนินการ

ตามข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานฯ" (A guide for parliamentarians

in implementing the Global Compact) โอกาสนี้ ภายหลังจากการรับฟังการบรรยาย

จากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว นายกิตติ วะสีนนท์ หัวหน้าคณะผู้แทนฯ ได้ร่วมอภิปราย

และสอบถามผู้บรรยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่สมาชิกรัฐสภาจะสามารถร่วมสนับสนุน

การดำเนินการตามข้อตกลง GCM ในแต่ละเป้าประสงค์ (objectives) ทั้ง ๒๓ เป้าประสงค์

ของข้อตกลง GCM โดยเฉพาะในประเด็นด้านการสร้างความเป็นหุ้นส่วน (partnership)

ซึ่งรัฐสภาสามารถมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างการมีส่วนร่วม จากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

และภาคประชาสังคม ผ่านการใช้อำนาจนิติบัญญัติในการกำกับตรวจสอบการทำงาน

ของรัฐบาลในการดำเนินนโยบาย และการออกกฎหมาย โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ได้ส่งเสริมรัฐบาลไทยให้ดำเนินการในเรื่องนี้มาโดยตลอด

       ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศโดยเฉพาะในกรอบความร่วมมืออาเซียน

ที่ไทยมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการค้ามนุษย์ รวมทั้งเด็กและสตรีภายในภูมิภาคนี้

เพื่อขจัดปัญหาการลักลอบขนย้ายผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ทั้งนี้ ในฐานะที่ประเทศไทย

เป็นประธานอาเซียนในปี ๒๕๖๒ ประเทศไทยก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ใช้โอกาส

อันดีนี้ในการผลักดันแก้ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

       ในเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา คณะผู้แทนฯ ได้เข้าพบประหารือทวิภาคีกับนาย

Habib El Malki ประธานสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโก โดยทั้งสองฝ่ายต่างเน้นย้ำถึง

ความสัมพันธ์อันดีที่ประเทศทั้งสองมีต่อกันทั้งในภารรัฐบาลและภาครัฐสภาและ

ได้ร่วมหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (human capital) ซึ่ง

ปัจจุบันมีนักเรียนไทยมุสลิมได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลโมร็อกโกเพื่อศึกษาศาสนา

ในประเทศโมร็อกโกอยู่จำนวนไม่น้อย ขณะเดียวกันประเทศไทยก็พร้อมที่จะส่งเสริม

ความร่วมมือระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะในด้านการแบ่งปันองค์ความรู้

เกี่ยวกับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

โดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา

ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และทั้งสองได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับความร่วมมือ

ในระดับภูมิภาค โดยที่ประเทศโมร็อกโกได้ให้ความสำคัญกับประเทศในทวีปเอเชีย

โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพอย่างยิ่ง

ในการพัฒนาในอนาคต และประเทศไทยในฐานะที่จะเป็นประธานอาเซียนและ

ประธานสมัชชารัฐสภาอาเซียนในปี ๒๕๖๒ นี้ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ช่วยส่งเสริม

บทบาทของประเทศโมร็อกโกในการเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ของทั้งสองกรอบ

การประชุมด้วย

      หลังจากนั้น ในเวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา คณะผู้แทนฯ เข้าร่วมการประชุมช่วงที่ ๓

ภายใต้หัวข้อ "ประเด็นท้าทายระดับชาติกับบทบาทของสมาชิกรัฐสภา" (National

challenges and the role of parliamentarians) ซึ่งที่ประชุมฯ ได้ร่วมรับฟังการ

บรรยายกรณีตัวอย่างของประเด็นท้าทายภายในประเทศในด้านการบริหารจัดการ

การโยกย้ายถิ่นฐาน ตลอดจนแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวภายใต้บทบาท

ของสมาชิกรัฐสภาในประเทศอิตาลี จอร์แดน ชิลี และอิรัก ก่อนที่ผู้แทนจากรัฐสภา

นานาประเทศจะได้ร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ในเรื่องประเด็นท้าทายต่าง ๆ ภายใน

ประเทศของตน


เครดิต : ภาพและข่าว โดย สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการ

สภาผู้แทนราษฎร



download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th