กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การประชุมรัฐสภาอิเล็กทรอนิกส์โลก (World e-Parliament Conference) ครั้งที่ ๘ ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติ CICG นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 4 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561

       เมื่อวันจันทร์ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๘.๐๐ นาฬิกา ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติ

CICG นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายพงศ์กิตติ์ อรุณภักดีสกุล

ที่ปรึกษาด้านการเมือง การปกครอง และการบริหารจัดการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และนางพรพิศ

พชรเจริญ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมรัฐสภาอิเล็กทรอนิกส์โลก (World e-Parliament

Conference) ครั้งที่ ๘ เป็นวันแรก (การประชุมฯ จัดขึ้นทั้งหมด ๓ วัน คือ ๓ - ๕ ธันวาคม ๒๕๖๑)

      โดยในช่วงเช้าภายหลังพิธีเปิดเสร็จสิ้น เป็นการประชุมเต็มคณะ คณะผู้แทนฯ ได้ร่วมรับฟังปาฐกถา

เรื่อง  “The impact of technological innovation on parliaments and parliamentarians”

จากนั้น เป็นการเปิดตัว “ศูนย์นวัตกรรมในรัฐสภา” (Centre for Innovation in Parliament) และ

รายงานรัฐสภาอิเล็กทรอนิกส์โลก ๒๐๑๘” (World e-Parliament Report 2018) อย่างเป็นทางการ

ต่อมาคณะผู้แทนฯ ได้เข้าร่วมการอภิปรายและรับฟังการนำเสนอจากตัวแทนของสหภาพรัฐสภา

ในหัวข้อ “How does technology support innivation in parliamentary processes and help

increase transparency and enhancing representation?”

      ต่อมาที่ประชุมได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางถึงผลกระทบของนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

ที่มีต่อโลกในปัจจุบันทั้งในด้านบวกและด้านลบ โดยเห็นว่าการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ

สามารถสร้างความเท่าเทียมและลดช่องว่างระหว่างชนชั้น ผู้ใช้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

ได้จากทั่วโลกตลอดเวลา ทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและเข้าถึงข้อมูลผ่านทาง

ช่องทางต่าง ๆ ในขณะเดียวกันผลกระทบจากการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและ

เสรีคือการต้องเผชิญความเสี่ยงกับข้อมูลที่เป็นเท็จ หรืออาชญากรรมทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ

      ในช่วงบ่ายเวลา ๑๔.๓๐ – ๑๖.๐๐ นาฬิกา เป็นการประชุมห้องย่อย ซึ่งเป็นการประชุมแบบ

คู่ขนานที่แบ่งเป็นห้องประชุมสำหรับการอภิปรายด้านนโยบายและการบริหารจัดการ และห้องประชุม

สำหรับการอภิปรายด้านการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้โดยคณะผู้แทนฯ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม เพื่อเข้าร่วม

การอภิปรายในทั้งสองรูปแบบ โดยในห้องสำหรับการอภิปรายด้านนโยบายและการบริหารจัดการ

มีคณะผู้แทนฯ เข้าร่วมคือ นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ หัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ

นายพงศ์กิตติ์ อรุณภักดีสกุล ที่ปรึกษาด้านการเมือง การปกครอง และการบริหารจัดการ สำนักงาน

ลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งจะเป็นการร่วมรับฟังการอภิปรายในหัวข้อ “Being an effective parliamentarian

in 2019” ซึ่งที่ประชุมได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางถึงการปรับตัวและพัฒนาของรัฐสภาให้เข้ากับ

บริบทการเปลี่ยนแปลงของ  สังคมว่าเทคโนโลยีดิจิตัลจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการทำงานของ

สมาชิกรัฐสภา หรือนวัตกรรมอะไรบ้างที่สมาชิกรัฐสภานำมาปรับใช้กับการทำงาน ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่

อภิปรายในทิศทางเดียวกันว่าเพื่อความโปร่งใส รัฐสภาต่าง ๆ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลการทำงานของ

รัฐสภาผ่านช่องทางเว็บไซด์หรือสื่อโซเซียลมีเดียต่าง ๆ ทั้ง facebook youtube และ twitter

พื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว ในขณะที่ในห้องสำหรับการอภิปรายด้านการ

นำเทคโนโลยีมาปรับใช้

      นางพรพิศ เพชรเจริญ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมรับฟังการอภิปรายในหัวข้อ

“Leading by example: greener parliaments” ซึ่งที่ประชุมได้มีการนำเสนอเรื่องยุทธศาสตร์

สีเขียวเพื่อการพัฒนาไปสู่การลดค่าใช้จ่ายแต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้น

      ในช่วงท้ายของการประชุมในวันแรก เวลา ๑๖.๓๐ – ๑๘.๐๐ นาฬิกา ยังคงเป็นวาระการประชุม

ห้องย่อย ซึ่งคณะผู้แทนฯ ได้เลือกเข้าร่วมห้องสำหรับการอภิปรายด้านนโยบายและการบริหารจัดการ

ทั้งคณะ โดยเป็นการอภิปรายในหัวข้อ “Good practices in the use of social media” โดยที่ประชุม

ได้อภิปรายเห็นพ้องไปในทางเดียวกันว่าปัจจุบันนี้สื่อโซเซียลมีเดียได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ

ผู้คนในการสื่อสารหรือแบ่งปันแนวคิดต่าง ๆ โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

และความท้าทายต่าง ๆ ที่รัฐสภาของตนไปประสบระหว่างการทำงาน อาทิ การใช้ facebook youtube

และ twitter เพื่อประชาสัมพันธ์การทำงาน และรับรู้แลกเปลี่ยนข่าวสารกับประชาชนทั่วไป

ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ทั้งนี้ปัญหาที่เห็นได้ชัดเลยคือเรื่องของการกระจาย

หรือเผยแพร่ข้อมูล  ที่เป็นเท็จ ซึ่งการใช้โซเซียลมีเดียในปัจจุบันมีความรวดเร็วเป็นอย่างสูง ทำให้

ข่าวสารข้อมูลที่เป็นเท็จสามารถกระจายไปได้ทั่วโลกในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบในวงกว้าง

ได้อย่างรวดเร็ว รัฐสภาจะมีวิธีการรับมือกับประเด็นปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร อนึ่ง ในเวลา

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ นาฬิกา คณะผู้แทนฯ ได้รับเกียรติรับเชิญจากคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ

และคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก เข้าร่วมงานวันชาติที่จัดขึ้น ณ โรงแรมเคมปินสกี้ เจนีวา


เครดิต : ภาพและข่าวโดย สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร





download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th