กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การอภิปรายย่อย (Panel Discussion) ในหัวข้อ “ความเสมอภาคทางเพศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ในการประชุมสหภาพรัฐสภาสตรี ครั้งที่ ๒๘

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 15 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561

       วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๔.๓๐ – ๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๒ ชั้น ๐  ศูนย์ประชุมนานาชาติเจนีวา

(CICG) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมาธิการ

สหภาพรัฐสภาสตรี และนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล มาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ร่วมการอภิปรายย่อย

(Panel Discussion) ในหัวข้อ “ความเสมอภาคทางเพศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” (Gender equality in

 science and technology) ว่า “ปัจจุบัน ผู้หญิงหลายคนยังคงพบกับปัญหาเรื่องเพศภาวะ การเหมารวมว่าผู้หญิง

ต้องทำงานบ้านเท่านั้น แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและตลาดแรงงาน ผู้หญิง

เริ่มออกไปทำงานมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ด้วยเหตุนี้ นักเรียนในมหาวิทยาลัยจึงต้องวางแผนอาชีพหลังจากตนเอง

จบการศึกษา ซึ่ง STEM Education หรือแนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน ๔ สหวิทยาการ ได้แก่

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์นั้นกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานสถิติการศึกษาของ

ประเทศไทยในปี ๒๕๕๙ แสดงตัวเลขจำนวนสตรีที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่า

จำนวนของบุรุษที่จบการศึกษาในสาขาวิชาเดียวกัน โดยคิดเป็นร้อยละ ๖๑.๙๘ และร้อยละ ๓๘ ตามลำดับ เช่นเดียว

กับจำนวนนักศึกษาปวช. ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวนของนักศึกษาสตรีมีมากกว่านักศึกษาชาย

ที่เรียนในสาขาวิชาเดียวกัน โดยคิดเป็นร้อยละ ๖๔.๙๓ และ ๓๕.๐๗ ตามลำดับ ตัวเลขดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่านักเรียน

หญิงในไทยนิยมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ   บทบาทของ

สมาชิกรัฐสภาคือการส่งเสริมสะเต็มศึกษาเชิงนวัตกรรมโดยการเสนอกฎหมายและพิจารณาร่างกฎหมายในเรื่อง

สะเต็มศึกษาและคิดค้นหลักสูตรใหม่ในการแก้ไขช่องว่างของทักษะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ด้วยโลกที่หมุนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้เอง จึงควรจะได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานในการ

วิจัยและพัฒนา (R&D) วิชาการ งบประมาณ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล บทบาทอีกประการหนึ่งของสมาชิก

รัฐสภาคือการทำให้ผู้กำหนดนโยบายได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์สำหรับคนรุ่นต่อไป รัฐบาลไทย

ในฐานะหุ้นส่วนความร่วมมือกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และองค์การอาหารและการเกษตร

แห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อเสริมพลังให้กับนักเรียนหญิงของไทย

ในชนบทเมื่อปีที่ผ่านมา ดยการนำเทคโนโลยีมาใช้กับภาคการเกษตร โดยนักเรียนหญิงและผู้นำชนชนสตรี

จำนวนกว่า ๒๐๐ คน ได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีโดรนในการทำนา นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ

ประสบผลสำเร็จ ประชาชนทั่วไปจะต้องสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายไทยแลนด์

๔.๐ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนศรษฐกิจและพัฒนาสังคม ซึ่งขณะนี้ได้ทำการติดตั้งเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตไฮสปีดฟรีภายใต้โครงการ “ประชารัฐ” ซึ่งได้ติดตั้งไปแล้วจำนวน ๒๔,๗๐๐ หมู่บ้านทั่วประเทศ

ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและสร้างทักษะความเข้าใจในการ

ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแล้ว ยังเป็นการเชื่อมชุมชนในชนบทเข้าสู่ตลาดโลกอีกด้วย”




download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th