กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การเสวนาเรื่อง ความท้าทายที่สื่อ ในอาเซียนต้องเผชิญ “The challenges Faced by the Media in ASEAN”

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 2 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561

       วันพฤหัสบดีที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ และงานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน ครั้งที่ ๗ เป็นการเสวนาเรื่อง ความท้าทายที่สื่อในอาเซียนต้องเผชิญ “The challenges Faced by the Media in ASEAN” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวปวีณา พลเขตต์ นายวิชญา ศิลาน้อย นายศุภกิจ จิตตาพัฒวงศ์ และนายสุทธิมนัส จินากรพงศ์  โดย ดร.เจษฎา ศาลาทอง กล่าวว่าปัจจุบันการบริโคสื่อของคนในอาเซียนเปลี่ยนแปลงไปมีการใช้สื่อโซเชียลเพิ่มมากขึ้น ในภาพรวมของการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์ มีพัฒนาการที่สำคัญคือในปี ๒๐๐๘ มีการตั้งทีวีสาธารณะขึ้นชื่อว่า Thai PBS โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากภาษีเหล้า บุหรี่ ทำให้สามารถดำเนินการได้อย่างเสรี ต่อมาในปี ๒๐๑๓ มีการเปลี่ยนแปลงจากโทรทัศน์ระบบอนาล็อกเป็นระบบดิจิตอล ซึ่งปัจจุบันคนส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสื่อจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้การชมภาพยนตร์บนอินเตอร์เน็ตก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสื่ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปทำให้โทรทัศน์ดิจิตอลบางช่องปิดตัวลง ด้านสื่อวิทยุยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีในนัยยะสำคัญ ซึ่งยังต้องพิจารณาถึงผลกระทบให้ดี  จากรายงานของ กสทช. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล มีสถานีวิทยุ พบว่าในประเทศไทยมีสถานีวิทยุกว่า ๓,๐๐๐ แห่ง ส่วนใหญ่เป็นของทหาร อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นก็ไม่ได้รับฟังจากวิทยุโดยตรงอีกต่อไป แต่จะฟังจากระบบสตรีมมิ่งแทนส่วนหนังสือพิมพ์ในไทยเกิดขึ้นมานานมากซึ่งมีหนังสือพิมพ์หลากหลาย แต่ปัจจุบันหนังสือพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์มีรายได้น้อยลงมากทำให้หลายฉบับต้องปิดตัวลง ทำให้ต้องปรับตัวโดยย้ายมาอยู่ในรูปแบบของหนังสือออนไลน์ ทำให้คนสามารถอ่านที่ไหนก็ได้และมีราคาถูกลง และปัจจุบันไทยมีอัตราผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่ม  มากขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งการใช้แอพพิเคชันในแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามก็ต้องระมัดระวัง เรื่องข่าวปลอม เช่นเรื่องข้าวปลอม ซึ่งระบาด      ไปถึงแอฟริกา ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของจีน เป็นต้น ในไทยส่วนใหญ่ข่าวปลอมจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสาธารณสุข สำหรับเสรีภาพของสื่อ ของไทยอยู่ที่ ๑๔๐ จากทั่วโลกและในอาเซียนก็จะมีอันดับใกล้เคียงกัน

      จากนั้นนางสาวปวีณา พลเขตต์ และนายวิชญา ศิลาน้อย ได้กล่าวถึงประสบการณ์จากการได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักศึกษา          มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พบว่าวัยรุ่นลาวติดตามข่าวและความบันเทิงจากไทยค่อนข้างมากโดยติดตามผ่านทางโทรทัศน์มากกว่าสื่อออนไลน์สำหรับการศึกษาดงานที่สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาวพบว่าผู้สื่อข่าวยังมีน้อย และให้ความสำคัญกับการสื่อเป็นภาษาลาวเป็นหลักและ มีการตรวจสอบเข้มข้นก่อนการเผยแพร่ และข่าวต่างประเทศจะรับจากจีนและเวียดนามเท่านั้น และในอนาคต จะมีการปรับระบบเป็น HD ภายในอีก ๑ – ๒ ปี นี้

          ด้าน นายศุภกิจ จิตตาพัฒวงศ์ และนายสุทธิมนัส จินากรพงศ์ ได้นำเสนอถึงการศึกษาดูงานสื่อที่มหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ ในปีนี้  โดยกล่าวว่าวัยรุ่นของมาเลเซียส่วนใหญ่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นหลัก รองลงมาคือสื่อโทรทัศน์ โดยใช้แอพพิเคชัน  what app มากที่สุด สำหรับการรับมือกับความท้าทายนั้นได้มีการศึกษา จากสถานีวิทยุโทรทัศน์ RTM ซึ่งอยู่ในกำกับของรัฐ โดยการผลิตสื่อให้ความสำคัญกับความต้องการของคนกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งมีการทำแอพพิเคชันของตนเอง รวมทั้งมีการนำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ด้วย

 


download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th