กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
การเสวนาในประเด็นการเชื่อมต่อความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนกับเอเชีย-แปซิฟิกและอินโดแปซิฟิก “Connecting the ASEAN Connectivity to the Asia-Pacific and the Indo-Pacific” ในงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ และงานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน ครั้งที่ ๗

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 2 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561

    วันพฤหัสบดีที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา
ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ และงานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน               
ครั้งที่ ๗ เป็นการเสวนาในประเด็นการเชื่อมต่อความเชื่อมโยงระหว่างกัน
ในอาเซียนกับเอเชีย-แปซิฟิก และ อินโดแปซิฟิก “Connecting the ASEAN
Connectivity to the Asia-Pacific and the Indo-Pacific”

โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย

     ๑. นายประดาป พิบูลสงคราม อดีตเอกอัครราชทูต กระทรวงการต่างประเทศ

      . Dr. Mia Mikic, Director Trade, Investment and Innovation Division,
United Nations Economic and Social Commission for the Asia and the Pacific (ESCAP)

      ๓. Dr. Ngeow Chow Bing, Acting Director of Institute of China Studies, University of Malaya

      ๔. Dr. Rhodora B. Concepion, Senior Regional Cooperation Specialist of Thailand
Resident Mission (TRM) -Asian Development Bank (ADB)
ดำเนินรายการโดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในการเสวนาได้กล่าวถึงแนวคิดภูมิภาคนิยมแบบเปิดของอาเซียนที่ต้องอาศัย
การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคและการเชื่อมโยงอาเซียนกับประชาคมโลก ซึ่งหลักการดังกล่าว
ถูกนำไปปฏิบัติเพื่อสนับสนุน MPEC ๒๐๑๕ ข้อริเริ่ม/แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยง
ระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ ในการเชื่อมโยงอาเซียนกับอนุภูมิภาคและกรอบความร่วมมือ
ระหว่างภูมิภาคอื่น ๆ ในช่วงปี ๒๐๐๘ ประเทศที่พัฒนาแล้วประสบกับการถดถอย และในเอเชีย
ได้มีการปรับตัว มีการมองหาการลงทุนใหม่ ๆ โดยการบูรณาการของอาเซียนเป็นเรื่องสำคัญเพื่อเชื่อมโยงกัน
และในปี ๒๐๑๙ ประเทศไทยจะเป็นประธานอาเซียน เราจะต้องทำให้การเชื่อมโยงกันเกิดประโยชน์ต่อประเทศ
        นายประดาป พิบูลสงคราม กล่าวว่า ในช่วงปี ๒๐๐๙ ที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน                           
 ได้ริเริ่มให้เกิดการเชื่อมโยงอาเซียนขึ้น ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงทางกายภาพ รวมไปถึงประชาชน
กฎระเบียบ และการลงทุน ที่ต้องสอดประสานกันด้วย โดยมีการจัดทำแผนแม่บท
ข้อตกลงกับประเทศสำคัญ ๆ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น  ออสเตรเลีย
และนิวซีแลนด์ ซึ่งเชื่อมโยงอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในการประชุมระดับต่าง ๆ
ได้มีการพูดถึงการเชื่อมโยงอย่างแพร่หลาย โดยทางกายภาพได้มีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ
ท่าเรือ ICT และพลังงานปิโตรเลียม ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก โดยประเทศไทยเน้นทางบกเป็นหลัก                  
        สำหรับทางทะเลนั้น ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ดำเนินการได้ดีมาก เรามีการเตรียมการทางกายภาพ
ไว้ดีมากแต่อุปสรรคสำคัญคือกฎระเบียบเรื่องการผ่านแดน ซึ่งเราจะต้องพัฒนาการเชื่อมโยงให้สอดคล้องกัน
และเราจะต้องพยายามขยายการเชื่อมโยงเพื่อทำให้ตลาดอาเซียนกว้างมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในด้านการค้า
ให้กับอาเซียนให้มากขึ้น และอยากให้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับอินโดแปซิฟิกให้มากขึ้น
ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะมีการทำข้อตกลงต่าง ๆ ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อสร้างประโยชน์แก่อาเซียนให้มากที่สุด
        Dr. Mia Mikic กล่าวว่า จากการเชื่อมโยงผ่านการค้าชายแดนพบว่ามีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นกว่าร้อยละ ๒๕
ซึ่งคาดหวังว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเป็นผลจากการพัฒนาการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
และอาเซียนกับภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งมีการลงทุนโดยตรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับตัวเลขการส่งออกที่มีมูลค่าสูง
สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันกับภูมิภาคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และเมื่อพิจารณามูลค่าการค้าโดยรวม
จะเห็นว่าการติดต่อและการแบ่งปันข้อมูลการค้า กฎระเบียบ และภาษี เป็นเรื่องที่ยังคงต้องพัฒนาต่อไป 
 อีกทั้งควรเตรียมการเพื่อเชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียเหนือและเอเชียใต้ด้วย ทั้งนี้ อาเซียนได้ก้าวเข้าสู่การเป็นภูมิภาค
ที่มีเสรีทางการค้า มีการเก็บภาษีที่ลดลง ซึ่งปัจจัยทางการค้าที่สำคัญคือทำให้สินค้ามีราคาถูก มีการขนส่งรวดเร็ว                  
 ซึ่งยังต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ สำหรับการค้าระดับภูมิภาคยังมีความซับซ้อน ดังนั้น จะต้องร่วมมือกัน
กำหนดข้อตกลงเพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพื่อให้การค้าสามารถดำเนินไปได้ง่ายมากขึ้น รวมทั้งควรส่งเสริม                 
 การมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนของอาเซียนด้วยกัน และควรกำหนดบทบาทของอาเซียนให้ชัดเจน
เพื่อประโยชน์ในการค้าการลงทุนกับกลุ่มอินโดแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม มองว่าประชาคมอาเซียนยังเป็นภูมิภาคที่น่าลงทุนอยู่
        Dr. Ngeow Chow Bing กล่าวว่า ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและภูมิศาสตร์
การเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะอินโด-แปซิฟิก มีความแตกต่างจากอาเซียนและยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร                        
 ซึ่งควรจะต้องส่งเสริมความเชื่อมโยงกับประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดียอื่น ๆ นอกจากอินเดียด้วย
โดยจะเป็นโครงสร้างที่ใหญ่มาก และการให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางนั้น มองว่าอาจไม่ใช่ศูนย์กลางอย่างแท้จริง
เพราะถูกกดดันจากประเทศมหาอำนาจ และอาเซียนก็ยอมรับ รวมทั้งปัจจุบันเน้นด้านการเชื่อมโยง
ทางทะเลเป็นหลัก จึงควรส่งเสริมการเชื่อมโยงทางบกระหว่างประเทศที่มีพรมแดนติดกันด้วย
        Dr. Rhodora B. Concepion กล่าวว่า ปัจจุบันการเชื่อมโยงด้านต่าง ๆ ของอาเซียน                      
 มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้มีความยากจนลดลง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่
และแต่ละประเทศยังมีความสามารถในการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ ADB
ได้ส่งเสริมความร่วมมือในการเชื่อมโยงโครงการต่าง ๆ ด้านการค้า การลงทุน และการบริการ
รวมทั้งสนับสนุนเงินทุน และความรู้ให้กับประเทศต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น การแก้ไขปัญหา
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
สมาชิกอาเซียน และเชื่อมโยงอาเซียนกับเอเชียแปซิฟิก และอินโดแปซิฟิกด้วย

 

 

download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th