กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
งานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ และงานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน ครั้งที่ ๗

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 31 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561

      วันอังคารที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานเสวนาประชาคมอาเซียนของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ และงานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน                   
 ครั้งที่ ๗ นางสาวสุภาสินี ขมะสุนทร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และศาสตราจารย์ประภัสสร์ เทพชาตรี
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเสวนาเรื่อง "บทบาทของสมาชิกรัฐสภา         
ในการเผชิญกับความท้าทายในการจัดระเบียบโลกใหม่" ดำเนินรายการโดยนางแซนดร้า หาญอุตสาหะ        
 ผู้ประกาศข่าวภาคภาษาอังกฤษ รายการ Parliament Newsroom สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
          นางสาวสุภาสินี ขมะสุนทร รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถึงบทบาทของสมาชิกรัฐสภา   
 ในการส่งเสริมอาเซียนในอนาคตว่า ต้องใช้จุดแข็งของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในการทำงาน
ประสานกันเป็นทีมกับหน่วยงานภายนอกและเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมและวัฒนธรรม                  
สร้างความเข้าใจในความซับซ้อน ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเข้าไปร่วมในประเด็นทางสังคม เช่น                  
การเข้าไปช่วยเหลืออุบัติภัยในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งจุดแข็งของสมาชิกรัฐสภา คือการนำ                             
ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกไปสื่อสารให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าใจ และเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน                   
 การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืนต่อไป และเน้นการเชื่อมโยงในประชาคมอาเซียนระหว่างรัฐสภากับประชาชน
 เพราะรัฐสภาเป็นองค์กรที่เชื่อมโยงระหว่างรัฐสภาและประชาชน ซึ่งรัฐสภาต้องสร้างสมดุลในประเด็นดังกล่าว 
 โดยปัจจุบันสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ทำงานร่วมกับกลุ่มเยาวชน คือยุวชนประชาธิปไตย
ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และเผยแพร่ความเป็นประชาคมอาเซียนไปสู่ชุมชนและสังคม สร้างสมดุล
ในอำนาจสร้างความเป็นประชาชนอาเซียน เพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนต่อไป
          ด้านศาสตราจารย์ประภัสสร์ เทพชาตรี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    
 ได้กล่าวถึงอาเซียน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ๑๙๖๗ ถือเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคอาเซียน
รองจากสหภาพยุโรป อาเซียนมีประชากรกว่า ๖๐๐ ล้านคน และเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีความสำคัญ
ต่อทุกประเทศในภูมิภาคนี้ โดยประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ
         ๑. ประชาคมเศรษฐกิจ โดยมีความสำคัญมาก เป้าหมายคือ ต้องพยายามทำให้อาเซียน                           
 เป็นตลาดเดียว เป็นพื้นฐานการส่งออกทั้งทางด้านสินค้าและบริการ อาเซียนมีแผนที่จะทำให้โครงสร้างพื้นฐาน
เช่น โครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกกับทั่วโลก เชื่อมโยงการขนส่งทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ   
 ซึ่งการขนส่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งในอาเซียนและอาเซียนต้องพยายามปฏิรูปตัวเอง
เพื่อเติบโตไปสู่การเป็นอาเซียน ๔.๐ เป็นศูนย์กลางทางด้านเกษตรกรรม สุขภาพ ดิจิตัล การบริการ แรงงาน
และนวัตกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่การเป็น ๔.๐ ได้สำเร็จ
        ๒. ประชาคมการเมืองและความมั่นคง มีเป้าหมายคือ พัฒนาทางด้านการเมือง สิทธิมนุษยชน
และการป้องกันข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ

         ๓. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม มีเป้าหมายคือ พัฒนาด้านการศึกษา สวัสดิการสังคม และส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน      

         ทั้งนี้ ความท้าทายของการจัดระเบียบโลกใหม่ต่ออาเซียน มี ๒ ส่วน คือ ความท้าทายภายนอกและภายใน
โดยความท้าทายภายนอกที่อาเซียนต้องเผชิญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบโลกอย่างรวดเร็ว                   
 การเกิดขึ้นของขั้วอำนาจใหม่ รวมทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนและอินเดีย ข้อขัดแย้งทางศาสนา และข้อขัดแย้ง
ทางภูมิภาค และต้องปรับตัวเพื่อให้อาเซียนสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง ส่วนความท้าทายภายในที่อาเซียน
ต้องเผชิญ คือ ข้อขัดแย้งทางการเมือง ข้อขัดแย้งเรื่องชายแดน รวมถึงความไม่เชื่อใจกันในสมาชิกอาเซียน โดยประเทศ
ในอาเซียนต้องเป็นหุ้นส่วนกันมิใช่เป็นคู่แข่ง และต้องพยายามลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ต้องเป็นตลาดเดียว
มีการเปิดเสรีทางการค้าอย่างสมบูรณ์ มีเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน และต้องสร้างอัตลักษณ์อาเซียนร่วมกัน
นี้คือเป้าหมายที่อาเซียนต้องทำให้ได้ เพื่อต่อสู้กับความท้าทาย และเพื่อความเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้นำในทุกด้าน
     
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th