|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภา และการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาในวันสุดท้าย
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561
|
เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น ณ นครเจนีวา) คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๒๐๒ และการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๘ ในวันสุดท้ายของการประชุมโดยที่ประชุม ซึ่งมี Ms. Gabriela Cuevas Barron ประธานสหภาพรัฐสภา เป็นประธานการประชุม ได้รับทราบผลลัพธ์การประชุมต่าง ๆ ในกรอบการประชุมสหภาพรัฐสภาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ ได้แก่ การประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๓ (วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) การประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุมองค์การการค้าโลก (วันที่ ๙ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ ณ กรุงบัวโนสไอเรส สาธารณรัฐอาร์เจนตินา) การประชุมระดับโลกของยุวสมาชิกรัฐสภา (วันที่ ๑๗ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา) การประชุมประจำปีของรัฐสภาในโอกาสการประชุมว่าด้วยสถานภาพสตรี สมัยที่ ๖๒ (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา)จากนั้น ที่ประชุมได้รับฟังรายงานของคณะกรรมาธิการสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา (Committee on Human Rights of Parliamentarians) โดยมี Ms. D. Solorzano รองประธานคณะกรรมาธิการฯ เป็นผู้นำเสนอรายงานคำวินิจฉัยต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาใน 9 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา มัลดีฟส์ มองโกเลีย ไนเจอร์ ฟิลิปปินส์ ตุรกี เวเนซุเอลา และแซมเบีย ซึ่งที่ประชุมเปิดโอกาสให้ผู้แทนรัฐสภาของประเทศที่เกี่ยวข้องอภิปรายเพื่อชี้แจงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะผู้แทนรัฐสภาจากตุรกี และเวเนซุเอลา ร่วมอภิปรายถกเถียงและชี้แจงตอบโต้กันภายในคณะผู้แทนของตนเองในประเด็นดังกล่าวและได้รับความสนใจอย่างมากจากที่ประชุมในช่วงบ่าย ที่ประชุมคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภาได้รับทราบรายงานจากเลขาธิการสหภาพรัฐสภา เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของรัฐสภาประเทศสมาชิกบางประเทศ ที่สหภาพรัฐสภาเฝ้าติดตามพัฒนาการ รวมถึงประเทศไทย โดยเลขาธิการสหภาพรัฐสภาได้รายงานให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทย ที่มีความคืบหน้าที่สำคัญหลายประการ แม้ว่าไทยจะเผชิญกับความท้าทายบางประการซึ่งกระทบต่อกรอบกำหนดเวลาของโรดแมปประชาธิปไตย แต่ประเทศไทย โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ครบทั้ง ๑๐ ฉบับแล้ว ตลอดจนการเปิดให้เริ่มมีการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เช่น การลงทะเบียนจดจองชื่อพรรคการเมืองใหม่ ในบรรยากาศทางการเมืองที่มีความผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งหมดนี้ถือเป็นกระบวนการขั้นต้นเพื่อเตรียมการไปสู่การจัดการเลือกตั้ง ซึ่งสหภาพรัฐสภารับทราบความมุ่งมั่นของประเทศไทย โดยเฉพาะคำมั่นของนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งมุ่งหมายที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ โดยคณะกรรมการบริหารสภาพรัฐสภา (Executive Committee) ได้มีมติให้สหภาพรัฐสภาติดตามและสนับสนุนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ประธานสหภาพรัฐสภากล่าวเพิ่มเติมว่า ตนได้รับทราบข้อมูลพัฒนาการทางการเมืองจากคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในระหว่างการพบปะหารือทวิภาคีแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะความตั้งใจจริงของประเทศไทยในการดำเนินการตามโรดแมป โดยสหภาพรัฐสภาพร้อมที่จะต้อนรับผู้แทนรัฐสภาไทยชุดใหม่ ในปี ๒๕๖๒ ซึ่งคณะมนตรีบริหารสหภาพรัฐสภามีมติรับทราบ และให้ติดตามพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยต่อไปต่อมา ที่ประชุมได้พิจารณาถึงสถานะของคณะที่ปรึกษาระดับสูงว่าด้วยแนวคิดนิยมความรุนแรงแบบสุดขั้วและการก่อการร้าย (High-level Advisory Group on Countering Terrorism and Violent Extremism) ที่หลายประเทศตั้งคำถามถึงองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาฯ โดยที่คณะผู้แทนไทยได้ลงมติ ร่วมกับที่ประชุมด้วยเสียงข้างมากเห็นชอบให้คณะที่ปรึกษาฯ สามารถดำเนินงานต่อไปได้จนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๖๑ และเห็นชอบให้ส่ง terms of reference ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาฯ กลับไปให้คณะกรรมการบริหารสหภาพรัฐสภาพิจารณาทบทวนต่อไปเมื่อเวลา ๑๘.๐๐ น. ได้เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการประชุมสมัชชา (Assembly) ซึ่งที่ประชุมสมัชชาได้ร่วมกันรับรองแถลงการณ์ร่วม หัวข้อ "Strengthening the global regime for migrants and refugees: The need for evidence-based policy solutions" ซึ่งเป็นหัวข้อหลักของการอภิปรายทั่วไป (General Debate) ด้วยมติเอกฉันท์ พร้อมทั้งได้ ร่วมกันรับรองข้อมติ หัวข้อ การธำรงรักษาสันติภาพในฐานะเครื่องมือในการบรรลุการพัฒนาที่ยังยืน (Sustaining peace as a vehicle for achieving sustainable development) และหัวข้อ การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องพลังงานหมุนเวียน (Engaging the private sector in implementing the SDGs, especially on renewable energy) รวมถึง ให้การรับรองหัวข้อหลักของการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ หัวข้อ การไม่ยอมรับต่อกระบวนการว่าจ้างผู้รับจ้างรบซึ่งบ่อนทำลายสันติภาพและละเมิดสิทธิมนุษยชน (Non-admissibility of using mercenaries as a means of undermining peace and violating human rights) และการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลัง และการค้า หัวข้อ บทบาทของการค้าและการลงทุนที่ยุติธรรมและเสรีต่อการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในด้านความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การพัฒนาอุตสาหกรรม และนวัตกรรม (The role of fair and free trade and investment in achieving the SDGs, especially regarding economic equality, sustainable infrastructure, industrialization and innovation) เพื่อยกร่างข้อมติและรับรองในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๔๐ ต่อไป ตลอดจน รับทราบรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการสหประชาชาติ ซึ่งในโอกาสนี้ นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยกิจการสหประชาชาติ เป็นผู้ทำหน้าที่รายงานสรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ให้ที่ประชุมได้รับทราบแทน Mr. Anti Avsan ประธานคณะกรรมาธิการฯ ด้วย แต่อย่างไรก็ดี หลังจากการรายงานสรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ที่ประชุมได้ถกเถียงเกี่ยวกับการรับรองวาระการอภิปรายย่อย (Panel discussion) เพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมาธิการฯ ในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๙ ภายใต้หัวข้อ บทบาทของรัฐสภาในการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ และการสร้างหลักประกันต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (The role of parliaments in ending discrimination based on sexual orientation and gender identity, and ensuring respect for the human rights of LGBTI persons) โดยหลังจากที่ประชุมไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องนี้ เนื่องจากรัฐสภาสมาชิกที่เหลืออยู่ในที่ประชุมมีจำนวนไม่ครบองค์ประชุม จึงไม่สามารถลงมติได้ ประกอบกับ ระบบล่ามสนับสนุนการประชุมยุติลงตั้งแต่เวลา ๑๙.๑๕ น. เนื่องจากการประชุมล่วงเลยเกินเวลาตามสัญญาจัดจ้างล่ามของสหภาพรัฐสภา ทำให้ที่ประชุมจำเป็นต้องมีมติให้นำวาระที่ไม่สามารถหาข้อยุติดังกล่าวนี้ ไปพิจารณาอีกครั้ง โดยกำหนดให้ดำเนินการภายในวันแรกของการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๙ ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๑ |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|