|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (ช่วงที่หนึ่ง) ในโอกาสการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๘
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561
|
***ข่าวประชาสัมพันธ์จากสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ*** เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น ณ นครเจนีวา) นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ พร้อมด้วย พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายนรนิติ เศรษฐบุตร ที่ปรึกษาคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (ช่วงที่หนึ่ง) ในโอกาสการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๘ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องหมายเลข ๒ ศูนย์การประชุมนานาชาติเจนีวา (CICG) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยที่ประชุม ซึ่งมี Ms. Laura Rojas สมาชิกรัฐสภาเม็กซิโก ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้รับทราบรายละเอียดของกิจกรรมที่ผ่านมาของคณะกรรมาธิการฯ ตลอดจนการรับรองระเบียบวาระการประชุม และการรับรองผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการฯ ครั้งล่าสุด เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ จากนั้น ผู้ร่วมเสนอรายงาน (Mr. Andrea Caroni สมาชิกรัฐสภาสวิตเซอร์แลนด์) กล่าวนำเสนอเกี่ยวกับร่างข้อมติ หัวข้อ การธำรงรักษาสันติภาพในฐานะเครื่องมือในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustaining peace as a vehicle for achieving sustainable development) โดยเฉพาะการกล่าวถึงบทบาทของรัฐสภาซึ่งเป็นกลไกสำคัญต่อการสร้างสังคมที่มีสันติภาพ ปราศจากความขัดแย้ง ตลอดจนการเน้นย้ำว่าร่างข้อมติมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการประยุกต์ใช้ในระดับประเทศ โดยไม่มุ่งประเด็นไปที่การจัดการกับปัญหาที่เกิดจากสงคราม แต่เป็นการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อไปสู่สันติภาพในโอกาสนี้ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ได้กล่าวถ้อยแถลงอภิปรายเนื้อหาร่างข้อมติต่อที่ประชุมเป็นลำดับแรก โดยชี้ให้เห็นว่าร่างข้อมติได้ฉายภาพรวมของเป้าหมายที่ ๑๖ ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) อันเกี่ยวข้องกับการสร้างสังคมที่สงบสุข ยุติธรรม และไม่แบ่งแยก โดยเฉพาะในแง่ของการดำรงชีวิต สิทธิมนุษยชน การมีส่วนร่วม ธรรมาภิบาล การจัดการภาครัฐ และกฎหมาย ในทุกระดับของสังคม ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดให้มีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วน เพื่อไปสู่การธำรงรักษาสันติภาพที่แท้จริง อาทิ การยุติปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ ในระดับรัฐสภา สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้รับรองข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนต่อนโยบายของรัฐบาล และโดยที่เห็นว่าอนาคตของชนรุ่นหลังเป็นเรื่องสำคัญ ประเทศไทยจึงได้จัดทำการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อให้มียุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี ยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มาบรรจุไว้เป็นกรอบการดำเนินการ และแบ่งประเด็นยุทธศาสตร์ออกเป็น ๖ ด้าน อาทิ ความมั่นคงภายในประเทศ ความเท่าเทียมในสังคม และการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ซึ่งประเทศไทยได้ดำเนินการสอดคล้องกับคำแนะนำที่ปรากฏในร่างข้อมติ เพื่อให้การปฏิรูปประเทศสัมฤทธิ์ผลผ่านการสร้างหลักประกันว่ากฎหมายภายในประเทศมีเนื้อหาเพื่อไปสู่การธำรงรักษาสันติภาพโดยแท้จริง ในช่วงท้ายของถ้อยแถลง นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล เน้นย้ำต่อที่ประชุมว่ารัฐสภาเป็นองคาพยพ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย ดังนั้น บทบาทหลักของรัฐสภาคือการสร้างหลักประกันต่อประสิทธิผลของการนำไปปฏิบัติ ซึ่งร่างข้อมตินี้ได้ให้ข้อเสนอแนะครอบคลุมการปฏิบัติที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาสันติภาพในระดับประเทศ |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|