|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับยื่นหนังสือ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2560
|
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับยื่นหนังสือจากนายเจน นำชัยศิริ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะ เกี่ยวกับข้อคิดเห็นต่อปัญหาในภาคปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยพระราชกำหนดดังกล่าวเป็นการรวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานไว้ในฉบับเดียวกัน และครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบ โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน ประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งมีสมาชิกผู้ประกอบการภาคเอกชนทั่วประเทศ ได้รับข้อร้องเรียนจากสมาชิกสมาคมการค้า หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ และสมาชิกผู้ประกอบการ ถึงปัญหาในการปฏิบัติตามพระราชกำหนด เนื่องจากมีผลบังคับใช้ทันที และมีบทลงโทษที่สูงเกินไป จะทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งวิถีชุมชนที่จ้างแรงงานต่างด้าว เช่นแม่บ้านตามบ้านชุมชน ตลาดสด ลูกจ้างร้านค้าแผงลอยต่าง ๆ ดังนั้นจึงได้เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้ ๑. ควรเปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทั่วประเทศ ณ ศูนย์เบ็ดเสร็จด้านแรงงานอีกครั้ง ตามระยะเวลาที่กระทรวงแรงงานเห็นสมควร ๒. ควรให้มีผู้แทนภาคเอกชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะต่อกฎหมายอนุบัญญัติ ๓๙ ฉบับ เพื่อให้พระราชกำหนดสามารถปฏิบัติได้อย่างเห็นผล และไม่กระทบต่อสังคมการจ้างแรงงานต่างด้าวจนมากเกินไป ๓. ควรให้มีการกำหนดกฎหมายอนุบัญญัติเฉพาะในการจ่ายค่าชดเชยแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย ๔. ควรมีการประชาสัมพันธ์พระราชกำหนดฉบับนี้อย่างเร่งด่วน ในการให้ความรู้ และความเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติ ตามกฎหมายกับผู้ประกอบการ ตลอดจนจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแรงงาน ทั้งนี้ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่าจะส่งข้อเสนอแนะดังกล่าวให้กับคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง นำไปพิจารณาศึกษาต่อไป |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|