|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
ประธานสนช. รับยื่นหนังสือจากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2559
|
วันอังคารที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับยื่นหนังสือจากนายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา เรื่อง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. .... โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการพระราชบัญญัติมาตรการทดแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และมีข้อสังเกตให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาบางประการ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ซึ่งศาลยุติธรรมพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. .... มีหลักการที่ขัดต่อหลักการที่สำคัญของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและส่งผลกระทบต่อกระบวนการอำนวยความยุติธรรมที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ดังนี้
๑. การกำหนดมาตรการต่าง ๆ ให้ผู้ต้องหาต้องปฏิบัติ เช่น การคุมประพฤติ การกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ เป็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาเหล่านั้นเสมือนว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญา โดยปราศจากกระบวนการพิสูจน์ความผิดของบุคคลเหล่านั้น จึงเป็นการขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ต้องถือว่าบุคคลทุกคนต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาเป็นที่สุดของศาล
๒. การใช้อำนาจในการสั่งชะลอการฟ้องตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นมาตรการที่ปราศจากกระบวนการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกผู้ใช้อำนาจ ทำให้ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลที่การใช้อำนาจรัฐควรจะต้องมีลักษณะสำคัญที่โปร่งใสต่อสาธารณชนและสามารถตรวจสอบจากองค์กรภายนอกได้
๓. การตัดสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางศาลของผู้เสียหาย เนื่องจากตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่ประสงค์จะใช้สิทธิทางศาลของตนและมีบทบังคับห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีต่อไป แม้กระทั่งในกรณีที่ผู้เสียหายประสงค์จะใช้สิทธิทางศาลของตนและนำคดีมาฟ้องต่อศาลแล้วก็ตาม
๔. ระยะเวลาและอายุความในการดำเนินการกระบวนพิจารณาคดีอาญาอาจขยายไปได้จนแทบไม่มีข้อจำกัดหากมีคำสั่งให้ใช้มาตรการแทนการฟ้องอันจะทำให้พยานหลักฐานที่สำคัญสูญหายหรือเสียหายไปจนไม่สามารถใช้ในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหาหากมีความจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลต่อไป ซึ่งจะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|