|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๗.๑๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... โดยคณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้เสนอ เพื่อพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยการแก้ไขร่าง รัฐธรรมนูญในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการเดินหน้าตามโรดแมป เพื่อให้มีการเลือกตั้งกลางปี ๒๕๖๐ ซึ่งการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อทำให้กระบวนการทำประชามติมีความชัดเจนในเรื่องต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น โดยสมาชิกได้อภิปรายซักถาม โต้แย้ง และเปลี่ยนแก้ไขข้อความหลายวรรค หลายเรื่อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
๑. ความชัดเจนในเรื่องของเสียงที่จะนับในการทำประชามติเห็นชอบรัฐธรรมนูญ และประชามติในเรื่องคำถาม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจะใช้เสียงข้างมากของผู้ออกเสียงในการตัดสิน ระหว่างเห็นชอบกับไม่เห็นชอบ
๒. การทำให้การออกเสียงประชามติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประชาชนมาออกเสียงลงคะแนนโดยมีความรู้ และความเข้าใจรัฐธรรมนูญมากที่สุด ในประเด็นที่ประชาชนจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องไปกำหนดรายละเอียดในกฎหมายลูก ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะต้องยกร่างส่งมาให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณา โดยประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการ ขึ้นมาพิจารณา โดยจะมีผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการทำประชามติและการเลือกตั้ง มาร่วมเป็นกรรมาธิการ
๓. การตั้งคำถามอีกหนึ่งคำถาม ซึ่งแต่เดิมตามร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้คิด และมีมติ ว่าสมควรจะถามอย่างไร หรือไม่ แต่เนื่องจากขณะนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ดำเนินงานควบคู่กันไปกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยมีความคิดและมีการประสานงานในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องของการปฏิรูป และการเดินไปตามแผนยุทธศาสตร์ เมื่อเป็นเช่นนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
นอกจากนี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังได้อภิปรายสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ให้ผ่านประชามติ ซึ่งได้มีการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีข้อบกพร่องที่น้อยที่สุด โดยมีสมาชิกได้อภิปรายเสนอแนะให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับบทเฉพาะกาลในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมาร่างแรกนี้ มีการกล่าวถึงการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนั้น คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และแม่น้ำสายอื่น ๆ จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุประสงค์ของร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ได้กล่าวถึงปัญหาของประเทศชาติก่อนที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเข้าบริหารประเทศ คือ การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศ ซึ่งก็ได้มีการดำเนินการมาถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ในขณะเดียวกันเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ได้เสนอแนวทางยุทธศาสตร์แห่งชาติขึ้นมา เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนี้ อีกประการหนึ่งคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ ได้วางหลักการในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรไว้ในมาตรา ๓๕ และยังมีหลักการต่าง ๆ เพื่อให้คำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งจะเห็นว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ก็ได้กล่าวถึงปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือความไม่ชัดเจนของกฎหมาย หรือการโต้เถียงกันจนหาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีความห่วงใยว่า หากรัฐธรรมนูญที่จะประกาศใช้ในอนาคต ไม่มีทางออกสำหรับปัญหาเหล่านี้ ปัญหานั้นก็จะกลับมาอีกเหมือนเดิม โดยประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยืนยันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำนั้น ทำไปด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศให้ลุล่วงไปให้ได้
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|