|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ |
บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง นิติบัญญัติกับประชาธิปไตย ในการบรรยายพิเศษและโต้วาทีทางการเมือง เนื่องในโอกาส ๘๐ ปี รัฐสภาไทย
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 6 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2555
|
วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ หอประชุมรักตะกนิษฐ ๒ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต นายชวน หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง นิติบัญญัติกับประชาธิปไตย ในการบรรยายพิเศษและโต้วาทีทางการเมือง เนื่องในโอกาส ๘๐ ปี รัฐสภาไทย ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาจัดขึ้นว่า ๘๐ ปีที่ผ่านมาประชาธิปไตยของไทยมีความก้าวมากกว่าในอดีตที่ผ่านมาและหากนำไปเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านประเทศไทยถือว่ามีความก้าวหน้ามากกว่าประเทศอื่นในอาเซียนเสียด้วยซ้ำ แต่ทั้งนี้นายชวนกล่าวว่า แม้ประชาธิปไตยของไทยจะมีความก้าวหน้าแต่ประเทศไทยก็มีจุดอ่อนของประชาธิปไตยในเรื่องของการทุจริต เรื่องของประชาชนในประเทศที่ถือได้ว่ายังมีความอ่อนแอและขาดระเบียบวินัยในเรื่องประชาธิปไตยพอสมควร ซึ่งปัจจัยที่เป็นอุปสรรคที่สำคัญสุดคือ ปัญหาธุรกิจการเมือง นอกจากนี้นายชวนยังกล่าวถึงรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๕๐ ด้วยว่า รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่กำหนดให้รัฐสภาคณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องปฎิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมซึ่งตนถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและส่วนตัวขอยืนยันว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้มีข้อบกพร่องแต่ความบกพร่องอยู่ที่ผู้ปฏิบัติ อนึ่งก่อนจบการบรรยายพิเศษนายชวน ได้กล่าวถึงการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของไทยในปี ๒๕๕๘ ด้วยว่า ตนอยากให้คนไทยได้เตรียมความพร้อมในการเข้าร่วม AEC โดยเฉพาะในเรื่องภาษาอังกฤษที่อยากให้มีความพยายามและความสนใจ แม้ว่าหลายชาติอาเซียนในขณะนี้จะสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีแต่ก็ไม่อยากให้คนไทยน้อยใจแต่อยากให้มีความภาคภูมิใจว่า ประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครมาก่อน
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|