|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2567 เวลา 13.15 นาฬิกา ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ว่าที่ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้ นางจงเดือน สุทธิรัตน์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสู่การเป็น Green Parliament เป็นผู้แทนเข้ารับโล่ตราสัญลักษณ์ G Green และประกาศเชิดชูเกียรติตราสัญลักษณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระดับดีเยี่ยม G ทอง จากนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในงานประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนากระบวนการรับรองการผลิต การบริการ และการบริโภคที่ยั่งยืน (G - Green) มุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียวและสังคมคาร์บอนต่ำ จัดโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี นางศิริพร โหตรภวานนท์ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานห้องสมุด สำนักวิชาการ และบุคลากรสำนักการประชุม ร่วมในงาน ซึ่งหน่วยงานสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2566 ระดับดีเยี่ยม G ทอง มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ หอสมุดรัฐสภา และสำนักการประชุม ทั้งนี้ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิต การบริการ และการบริโภคอย่างยั่งยืนมุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียว และสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายสถานประกอบการ หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ในการขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนตามนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่รัฐบาลและทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ ได้พัฒนาแนวทางการขึ้นทะเบียน รับรองกระบวนการผลิต การบริการและการบริโภคที่ยั่งยืน (G Green) ขึ้น เพื่อเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนการผลิต และการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ประชาชน สถานประกอบการ หน่วยงาน จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบที่ดีให้กับเป้าหมายอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำตามเป้าหมาย ประกอบกับหน่วยงานได้พัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนามาตรฐานกระบวนการขึ้นทะเบียนและรับรองกระบวนการผลิตการบริการและการบริโภคที่ยั่งยืน (G Green) เพื่อเป็นทิศทางการดำเนินการที่เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ สามารถบูรณาการกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้การรับรองและมอบโล่ตราสัญลักษณ์ G - Green ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการตรวจประเมินการผลิต การบริการ และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (G - Green) จำนวน 6 โครงการ คือ 1. โครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production) 2. โครงการส่งเสริมโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) 3. โครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) 4. โครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) 5. โครงการส่งเสริมการบริการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Restaurant) และ 6. โครงการส่งเสริมที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Residence) และเชิดชูเกียรติกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนและรับรองในประเภท ECO Plus และ UPCYCLE Circular Economy โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อพัฒนากระบวนการรับรองกระบวนการผลิต การบริการและการบริโภคที่ยั่งยืน (G - Green) มุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียวและสังคมคาร์บอนต่ำ มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 700 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบการ ที่พัก โรงแรม ผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ นักวิชาการ สื่อมวลชน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในการพัฒนากระบวนการรับรองการผลิต การบริการ และการบริโภคที่ยั่งยืน (G - Green) มุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียวและสังคมคาร์บอนต่ำ รวบรวมและถอดบทเรียนการดำเนินงานจากกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการทำงาน และกำหนดจัดกิจกรรมมอบรางวัลตราสัญลักษณ์ G - Green ระดับประเทศ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการประเมินและได้รับรองตราสัญลักษณ์ G - Green |
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|