|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
เมื่อวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 เวลา 15.00 17.00 นาฬิกา นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ในการประชุมผู้นำสตรี Women Leaders Meeting) ซึ่งจัดขึ้น ณ นครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี การประชุมนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือของสหภาพรัฐสภา (IPU) UN Women และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสวีเดน (Sida) โอกาสนี้ นางสุวรรณี ได้รับเชิญให้เป็นผู้อภิปรายในหัวข้อ การสร้างความเป็นผู้นำแก่สตรี ความก้าวหน้าสู่รัฐสภาที่คำนึงถึงมิติทางเพศ : ความสำคัญของความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกรัฐสภาสตรี โดยมีผู้อภิปรายร่วมจากเคนยา เม็กซิโก และสโลวีเนีย ซึ่งนางสุวรรณี ได้กล่าวถึง การดำเนินงานในส่วนของประเทศไทยเพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women - CEDAW) ปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการ (Beijing Declaration and Platform for Action) รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5 โดยในการพิจารณางบประมาณของฝ่ายนิติบัญญัติได้นำหลักการการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติทางเพศ (Gender Responsive Budgeting GRB) ซึ่งระบุไว้ในรัฐธรรมนูญมาปรับใช้ด้วย นอกจากนี้ ยังแสดงให้ที่ประชุมเห็นถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านสตรีหลังจากที่แผนปฏิบัติการเพื่อรัฐสภาที่คำนึงถึงมิติทางเพศ (IPU Plan of Action for Gender-sensitive Parliaments) ได้รับการรับรองมาแล้วเป็นเวลา 12 ปี นับจากการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 127 ณ เมืองควิเบก แคนาดา จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้หญิงที่เพิ่มขึ้นเปรียบเทียบกับสภาชุดที่แล้ว จำนวนผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการของทั้งสองสภาที่เป็นผู้หญิงก็มีจำนวนเกือบร้อยละ 50 โดยเลขาธิการวุฒิสภาขณะนี้เป็นสตรีอีกด้วย หรือจำนวนของประธานคณะ กมธ.ที่เป็นสตรีที่มีเท่ากับสภาชุดที่แล้ว หากแต่ได้ดำรงตำแหน่งประธานในคณะ กมธ. ที่มีความสำคัญ เช่น คณะ กมธ.การพลังงาน คณะ กมธ.การสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะ กมธ.การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
การมีประมวลจริยธรรมสำหรับสมาชิกรัฐสภาเพื่อปกป้องคุ้มครองสตรีในรัฐสภาจากการล่วงละเมิดทางเพศทุกรูปแบบก็เป็นความก้าวหน้ามิติทางเพศอีกประการหนึ่ง ข้อบังคับหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภาที่ได้มีการแก้ไขล่าสุดและประกาศใช้เมื่อปีที่แล้วยังมีบทบัญญัติที่ให้คำนึงถึงสัดส่วนระหว่างหญิงชายในการตั้งคณะกรรมการหน่วยประจำชาติไทยในสหภาพรัฐสภา อีกทั้งยังได้มีการจัดตั้งชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีเพื่อส่งเสริมการสร้างพลังอำนาจแก่สตรีขึ้นในรัฐสภาไทยด้วย
ในช่วงตอบคำถาม เนื่องจากผู้เข้าร่วมประชุมมีข้อสงสัยว่าประเทศไทยมีการกำหนดโควตาให้กับผู้ที่จะเป็นสมาชิกรัฐสภาสตรีหรือไม่ ในประเด็นนี้ นางสุวรรณีฯ ได้อธิบายว่าประเทศไทยไม่มีการกำหนดระบบโควตาของสตรีไว้ในกฎหมาย แต่จำนวนสมาชิกรัฐสภาสตรีที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อโดยคำนึงถึงความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง ซึ่งตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง อาจมีการกำหนดอัตราส่วนขั้นต่ำของผู้สมัครซึ่งเป็นชายกับหญิงที่พรรคการเมืองจะต้องส่งลงสมัครรับเลือกตั้งก็ได้ ในกรณีที่พรรคการเมืองไม่อาจส่งผู้สมัครตามอัตราส่วนดังกล่าวได้ ให้แจ้งเหตุผลให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากนั้นปัจจัยความสำเร็จยังมาจากการมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในการเสริมพลังอำนาจให้ผู้หญิงมีความเชื่อมั่นและเคารพในตัวเองโดยแสดงความสามารถและศักยภาพในตนเองให้เป็นที่ยอมรับต่อสังคม
เครดิต : ข่าวและภาพโดยกลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|