กลับหน้าหลัก

เมนูหลัก


 ปฏิทินกิจกรรม
« พฤศจิกายน 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
      1 2
3 4 5 6 7 8 9
10 11 12 13 14 15 16
17 18 19 20 21 22 23
24 25 26 27 28 29 30
ดูปฏิทินทั้งหมด
 
                                 อ่านทั้งหมด...

วีดิทัศน์สำนักงานฯ



  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


คณะผู้แทนรัฐสภาไทย นำโดยนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา และนายคริษฐ์ ปานเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหาร และการหารือระดับภูมิภาคของกลุ่มสมาชิกรัฐสภาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการต่อต้านการทุจริต ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 พฤษภาคม 2567 ณ จังหวัดบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในการหารือครั้งนี้เป็นความพยายามของ SEAPAC ในการแบ่งปันองค์ความรู้ในการดำเนินงานต่อต้านการทุจริตที่มีประเด็นหลักในการหารือครั้งนี้ คือ "การส่งเสริมความมุ่งมั่นในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับประชาธิปไตยด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการกับการทุจริตสีเขียว" ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ คือ 1 ประชาธิปไตยด้านสิ่งแวดล้อมในการเป็นตัวขับเคลื่อนการปฏิรูปการต่อต้านการทุจริตและ 2 การใช้ประชาธิปไตยด้านสิ่งแวดล้อมในอาเซียนเป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตสีเขียว คณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้นำเสนอการดำเนินงานของไทยในหัวข้อ แนวปฏิบัติที่ดีของรัฐสภาและบทเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการตามหลักประชาธิปไตยด้านสิ่งแวดล้อม ที่ไทยได้ดำเนินการตามแนวทางบาหลี ใน 3 เสาหลัก คือ 
1 ความโปร่งใสตรวจสอบได้ที่มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่เปรียบเหมือนการให้สิทธิ์แก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาล เพื่อความโปร่งใสตรวจสอบได้ ในส่วนของเสาหลักที่2 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ถือเป็นส่วนสำคัญของภาคประชาชน ที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินการใด ๆ ที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการประชามติประชาพิจารณ์ ในเสาหลักที่ 3 การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้มีการกำหนดในรัฐธรรมนูญว่าการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ของภาครัฐในการดำเนินการใดที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนต้องเข้าถึงได้ 

นอกจากนี้แล้ว คณะผู้แทนรัฐสภาไทย ยังได้นำเสนอต่อที่ประชุมถึงการดำเนินงานตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และการมีธรรมาภิบาล คณะผู้แทนรัฐสภาไทยยังได้กล่าวถึง การผลักดันร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด ที่ร่างและนำเสนอโดยภาคประชาชนที่มีความสำคัญในการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมาย และที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ใน 3 ระดับ 1) นโยบาย 2) กฎหมาย และ3) การบังคับใช้ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้ยืนยันต่อที่ประชุมว่าจะสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประชาธิปไตยด้านสิ่งแวดล้อมอาเซียน ที่ส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ท้ายที่สุดนี้ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยได้เรียกร้องให้ที่ประชุมรณรงค์เร่งดำเนินการนำแนวทางการต่อต้านการทุจริตสีเขียวไปปฏิบัติอย่างจริงจังในระดับภูมิภาคต่อไป

เครดิต : ข่าวและภาพ โดยกลุ่มงานสหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก  สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ร้องเรียน/ร้องทุกข์ กฎหมายในกลุ่มอาเซียน ห้องข่าว
หอสมุดรัฐสภา กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรฐานการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ระบบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอที สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สโมสรรัฐสภา
เงินอุดหนุนการวิจัย ของที่ระลึกของรัฐสภา Web Mail รางวัลพานแว่นฟ้า บทความเกี่ยวกับคดีของศาลปกครอง
โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ วารสารทรัพยากรบุคคลรัฐสภา ระบบสมุดโทรศัพท์ สผ. บน Smart Phone ติดต่อรัฐสภา
ศูนย์การจัดการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ Intranet PMQA องค์กร สำนักงบประมาณของรัฐสภา การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
รัฐสภาสีขาว เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน ชมรมรัฐสภาอาสา
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th