|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
พฤศจิกายน 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 | |
|
|
|
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องรับรองพิเศษ 205 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา ว่าที่ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร น.ส.สตีจิตร ไตรพิบูลย์สุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร น.ส.กัลยรัชต์ ขาวสำอางค์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นายณัฏฐกฤษฎ์ วงศ์เจริญ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ว่าที่เรือตรี ยุทธนา สำเภาเงิน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย นางจงเดือน สุทธิรัตน์ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ นางอารยะหญิง จอมพลาพล ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ พร้อมด้วยนายอาพล นันทขว้าง ผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร่วมให้การรับรองนายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) ที่ขอเข้าพบเพื่อแสดงความ ขอขอบคุณและหารือการสานต่อแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยและสภาผู้แทนราษฎร
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแสดงความยินดีที่ได้พบปะหารือในครั้งนี้ พร้อมทั้งชื่นชมนายเมแยร์ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันและให้ความร่วมมือที่ดีกับรัฐสภาเสมอมา โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา UNDP ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรถึง 2 ครั้ง คือครั้งแรกในปี 2563 และต่อมาในปี 2565 ซึ่งสำนักงานฯ ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในประเทศไทยในส่วนการดำเนินงานของรัฐสภาให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยกลไกความร่วมมือที่สำคัญนี้จะยังดำเนินต่อไปข้างหน้าแม้ว่าจะผู้นำองค์กรของทั้งสองฝ่ายจะเปลี่ยนไป หรือแม้แต่จะมีสมาชิกรัฐสภาชุดใหม่เข้ามาก็ตาม นอกจากนี้ รัฐสภาไทยยังส่งเสริมและผลักดันประเด็นด้าน SDGs อย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางของการประชุมสหภาพรัฐสภา (IPU) การประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) และการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ซึ่งสมาชิกรัฐสภามีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้าน SDGs อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ บทบาทของสตรีทางการเมือง และยุวสมาชิกรัฐสภา เป็นต้น รวมถึงเรื่องรัฐสภาดิจิทัลซึ่งขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการเปลี่ยนผ่านรัฐสภาไทยให้เป็นรัฐสภาดิจิทัล โดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่างรัฐสภากับภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติ และยินดีหาก UNDP มีความสนใจที่จะเข้ามาร่วมงานกับสำนักงานฯ ในเรื่องดังกล่าว
ด้านผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความรู้สึกประทับใจและขอขอบคุณเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ให้การต้อนรับและเป็นดั่งมิตรที่ดีเสมอมา โดยหลังจากที่เข้ามารับตำแหน่งในประเทศไทยเมื่อปี 2562 ซึ่งขณะนั้น ประเทศไทยได้มีรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว จึงทำให้ UNDP ได้เข้ามาร่วมงานกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอย่างราบรื่นและต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของรัฐสภาที่เปิดกว้างสู่ประชาชนมากขึ้นตามที่ได้หารือกับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองท่าน ดังนั้น จึงมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าหลังจากนี้ไป ทั้งสองฝ่ายจะมีการสานต่อนโยบายการดำเนินงานอย่างราบรื่นเพื่อผลักดัน SDGs ให้ขยายครอบคลุมไปในมิติต่าง ๆ อย่างมีระบบและแบบแผนที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้ง UNDP มีแผนที่จะขยายความร่วมมือไปยังสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาในโอกาสต่อไป ภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่แล้วเสร็จ ซึ่ง UNDP มีความพร้อมที่จะร่วมงานกับทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไปในอนาคต
เครดิตข่าว : โดยกลุ่มงานข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
|
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๕๐๐ email : webmaster@parliament.go.th http://www.parliament.go.th |
|
|